หน้าเว็บ

ตัวบทภาษี มาตราใช้สอบ


LW 406 กฏหมายภาษีอากร มาตราใช้สอบ

สรุปภาพรวม ก.ม. ปกครอง


LW 312 สรุปภาพรวม กม.ปกครอง

กฏหมายมรดก


LW 311 กฎหมายว่าด้วยมรดก

ตัวบทภาษีย่อๆ


LW406 กฏหมายภาษีอากร จากการติว

วันอังคารที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กำลังใจ

วันพฤหัสบดีที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2553

★★★ ขอบเขต LW/LA ภาค 2/52 ★★★

★★★ ขอบเขต LW/LA ภาค 2/52 ★★★

--------------------------------------------------------------------------------

LW307 / LA307
- ม 223( 203 ประกอบ 201 202) , 223 ทวิ , 224 ถึง 228
★★★เน้นได้ ม.224 เทียบกับ ม.225 ที่ว่าเรื่องข้อยกเว้น
และให้ดูเรื่องผู้มีสิทธิอุทธรณ์มาด้วย อ้างอิงจาก อ สมชัย
-------------------------------- 1 ข้อ ---------------------------------


- ม229 , 230+224 , 231 , 232 , 234 , 236 ( 244 245 ดูเผื่อๆไว้ ) เเละให้ดูลักษณะ 2 ฎีกามาด้วย
★★★ เน้นได้ ม.230 ว.ท้าย+232 คือ ต้องดูควบกันไป
แม้ศาลชั้นต้นจะได้รับอุทธรณ์ไว้แล้วก็ตาม ก็ไม่ตัตสิทธิศาล
ชั้นต้นที่จะ ปฏิเสธไม่ส่งอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ ตรงนี้ !!!
ผู้อุทธรณ์สามารถอุทธรณ์ คำสั่งศาลที่ปฏิเสธไม่ส่งได้ ตาม
ม.229 เพราะ ม.232 ไม่ได้บัญญัติว่า ที่ศาลชั้นต้นปฏิเสธไม่
ส่งอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ คำสั่งนั้นเป็นที่สุด
เผื่อออกครับ --- >
คำสั่งคำร้องที่ 848/2551 ม232 + 234 + 236 การชี้ขาดคำ
ร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ ตามหลักศาลอุทธรณ์ต้องชี้
ขาดไปตามเนื้อหาของฟ้องอุทธรณ์ เเต่คำสั่งคำร้องดังกล่าว
ออกนอกเหนือไปจากหลัก ใจความว่า เเม้มิใช่เนื้อหาของคำ
ฟ้องอุทธรณ์ เเต่มีลักษณะเดียวกับที่ศาลชั้นต้นสั่ง ไม่รับ
อุทธรณ์ คำสั่งของศาลอุทธรณ์จึง ( เป็นที่สุด ) จะฎีกาต่อไป
มิได้ อ้างอิง จาก อ สุรชัย
---------------------------------1 ข้อ ---------------------------------


- ม271 287 288
★★★ เน้นได้ ม 287 วิ.แพ่ง และ ป.พ.พ. มาตรา 491, 1336
คำพิพากษาฎีกาที่ 4832/2536 วินิจฉัยว่า บ้านพิพาทตกเป็น
กรรมสิทธิ์ของโจทก์โดยการขายฝาก บ้านพิพาทจึงมิใช่
ทรัพย์สินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาแต่อย่างใด
การที่โจทก์ขอให้บังคับคดีและเจ้าพนักงานบังคับคดีจัดการ
ให้โจทก์เข้าครอบครองบ้านพิพาทนั้น เป็นการใช้สิทธิติดตาม
และเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของโจทก์จากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิที่จะยึด
ไว้ มิใช่เป็นการบังคับคดีหรือบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สิน
ของจำเลยผู้เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา จึงไม่เข้าเกณฑ์ตาม
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในอัน
ที่ผู้ร้องจะขอกันส่วนบ้านพิพาทในคดีนี้ได้ ทั้งนี้เพราะการร้อง
ขอกันส่วนได้แก่การที่บุคคลภายนอกผู้เป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิ
หรือสิทธิอื่น ๆ ร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ตาม
คำพิพากษาที่มีการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินนั้น หรือขอให้เอาเงิน
ที่ได้จากการขายหรือจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำ
พิพากษามาชำระหนี้ของตนก่อนเจ้าหนี้อื่นตามประมวล
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 หรือ 289 แล้วแต่
กรณีศาลอุทธรณ์พิพากษาให้กันส่วนเฉพาะเงินที่ขายทอด
ตลาดทรัพย์ที่ยึดรวม 5 รายการให้แก่ผู้ร้องกึ่งหนึ่ง ศาลฎีกา
เห็นพ้องด้วยในผล
---------------------------------1 ข้อ ---------------------------------


- ม 253 , 253ทวิ , 254 , 264 ท่านอ.นครบอกว่าจะออก 264
และจะออกตามที่บรรยายในชั้นเรียน ครั้งสุดท้าย
สำหรับผู้ไม่มีเวลาเข้าฟัง ก็โหลดไปอ่านได้เลยยยยย
http://up2u.in.th/index.php/files/get/TMHE9tvUq_/..doc โดยนู๋นิวส์
★★★ ตัวอย่าง หน้า 3 ที่ว่าเป็นข้อสอบเนติ น่าสนใจมากๆ ^^.
---------------------------------1 ข้อ ---------------------------------


--------------------------------------------------------------------------------

LW310 / LA302

SEC.2 (ท่าน อ.พิมพ์ใจ)
ข้อ.1 1038 1050 1051 1052 1053 1054 1066 1067 และ 1068
ข้อ.2 1079-1095
ข้อ.3 1105 1113 1123 1132 1133 1151-1155 และ 1175-1195
SEC.2 (ท่าน อ.รัฐติชัย)
เฉพาะห้างหุ้นส่วน 1012 1013 1015 1018 1021 1022 1023
1025 1038 1040 1041 1047 1048 1049 1050 1051 1052
1053 1055 1057 1060 1064 1065 1066 1072 1077 1079
1082 1085 1087 1088 1090 1097 1095
SEC.1 (ท่าน อ.ธีระ)
ข้อ.1 1012 1022 1023 1025 1038 1050-1054 1066 1068 1070 และ 1072
ข้อ.2 1077 1079 1080( +1066 หรือ +1068 ได้ด้วย ) 1082 1087 1088 และ 1095
ข้อ.3 1113 1114 1129 1151 1173 1175 1178 1190 1194 1195 1220 และ 1224( +1017 )
★★★ ทั้งนี้ ได้สอบถาม อ.ธีระ แล้วได้คำตอบมาว่า ท่านออกคนเดียว O_O '' ดังนั้นดูขอบของท่านก็น่าจะพอ ^^ ตามนั้นครับ ★★★


--------------------------------------------------------------------------------

LW313 / LA310

ข้อ 1 มาตรา 22(3)+146 +ฎีกาที่5268/2551

ข้อ 2 ออกสอบในส่วนของมาตรา 91-108 เน้นที่ มาตรา 91
(ฎ.6084/2548 ,ฎ.3788/2549 , ฎ.44/2549 ,ฎ.2110/2540 , ฎ.3620/2530 , ฎ.1679/2551 , ฎ.5355/2530 )
ข้อ 3
- ออโตเมติกสเต
- ผลเมื่อศาลรับสั่งคำร้องขอ แล้ว ศาลไม่ให้ทำอะไร กันบ้าง
- ผลของคำสั่งที่ ศ สั่งให้ ฟื้นฟูกิจการ เมื่อศาล สั่ง แล้ว ผล เป็นอย่างไร
- การพิจารณาตั้งผู้ทำแผน ศ พิจารณาอะไรบ้าง
คำถามออกในรูปตุ๊กตา แต่ให้อธิบายเหมือนความจำ (อธิบายกฎหมาย)
ตุ๊กตาทำโน้น นี่ กัน แต่เวลาตอบก็อธิบายตามกฎหมาย
เช่นมีกระบวนพิจารณาอย่างไร ต้องทำอย่างไร เมื่อมีปัญหา แบบนี้ต้องทำ อย่างไรต่อ ที่ทำไปชอบไหม?

มาตราสำคัญ ฟื้นฟู ที่ต้องท่องให้ได้
90/3 /5 /6 /8(เพิ่งออกเทอมที่ผ่านมา) /10 /11 เป็นหลัก
/12 (4),(5),(6)**,(7),(9) + /13 +/14 +/15 ผลการจำกัดสิทธิหลังศ.สั่งฟื้นฟู
/17 การพิจารณาแต่งตั้งผู้ทำแผน
นอกนั้น ลองดูเพิ่มเติมตามที่ อ. สอนในชั้นบรรยาย
อนึ่งหลังจาก /27 ไม่ต้องดู เพราะเหมือนกับวิธีการของล้มละลาย !

--------------------------------------------------------------------------------

LW402 / LA408
พรบ.ให้ใช้ ป.ที่ดิน
ม.5 8 9

ป.ที่ดิน
ม.1 คำว่า สิทธิในที่ดิน,โฉนดที่ดิน
ม.3 ม.4ทวิ ม.27ตรี ม.31 ม.58ว.1-3
ม.58ทวิ ม.59 ม.59ทวิ ม.71 ม.72 เน้นที่วรรคสอง
ม.78 เน้นหลักเกณฑ์ตามคำบรรยายในห้องเรียน
ม.79 เน้นหลักเกณฑ์ตามคำบรรยายในห้องเรียน
ม.81 ม.82 ม.83

ข้อสอบส่วนใหญ่เน้นไปที่ การออกโฉนดที่ดินนะครับ
ถ้าเป็น LA จะมีสามข้อ วินิจฉัยหมด
ถ้าเป็น LW จะสี่ข้อ วินิจฉัยสาม ความจำหนึ่งข้อ
(แต่อาจจะวินิจฉัยสี่ข้อได้ แล้วแต่อาจารย์)


อย่างที่กล่าวไปว่า ม.78 และ 79
ไม่ต้องท่องมาตรา อาจารย์ท่านบอกให้จำหลักเกณฑ์ที่บอกในห้อง
เรียนแต่ถ้าใครไม่ได้เข้าเรียน ผมได้พิมพ์มาให้ท่านแล้วตามนี้เลยครับ

การจดทะเบียนการครอบครองปรปักษ์ ม.78
หลักเกณฑ์การได้มาและขั้นตอนการจดทะเบียนมีดังนี้
1.ครอบครองให้ครบหลักเกณฑ์ ใน ปพพ.ม.1382
1.1 ครอบครองที่ดินซึ่งผู้อื่นมีกรรมสิทธิ์ – มีโฉนดที่ดิน
1.2 ครอบครองโดยสงบ – จะไม่สงบเมื่อถูกกำจัดด้วยอำนาจทางกฎหมาย
1.3 ครอบครองโดยเปิดเผย
1.4 ครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ คือ เป็นปรปักษ์นั่นเอง
1.5 ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา 10ปี
- กรณีไม่สุจริตก็ครอบครองได้ แต่ ต้องดู อายุความ อาญาด้วยเผื่อ
โดนฟ้องดำเนินคดี ตาม ม.1383 อายุความไหนยาวกว่าใช้อันนั้น
- การครอบครองปรปักษ์ เป็นการได้มาโดยทางอื่น ตาม ม.1299 ว.2
2. ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคำสั่งว่า ผู้นั้นได้กรรมสิทธิ์โดยการ
ครอบครองปรปักษ์ ตาม ม.1382
3. นำคำสั่งหรือคำพิพากษาอันถึงที่สุดของศาลพร้อมด้วยโฉนดที่ดิน
ซึ่งได้กรรมสิทธิ์ไปทำการจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่


การรวมที่ดินหลายแปลงเข้าเป็นแปลงเดียวกัน ตาม ม.79
หลักเกณฑ์
1.ที่ดินทุกแปลงต้องมีหนังสือสำคัญแสดงสิทธิชนิดเดียวกัน
2.ผู้มีชื่อในหนังสือแสดงสิทธิต้องเหมือนกันและยังมีชีวิตอยู่
3.ที่ดินทุกแปลงต้องติดต่อเป็นผืนเดียวกันโดยสภาพ
4.ที่ดินทุกแปลงต้องอยู่ในเขตจังหวัดเดียวกัน (ต่างอำเภอได้)
5.ที่ดินทุกแปลงต้องอยู่ในเขตสำนักงานที่ดินเดียวกัน
ที่ว่า.....กรณีไม่สุจริตก็ครอบครองได้ แต่ ต้องดู อายุความ อาญา
ด้วยเผื่อโดนฟ้องดำเนินคดี ตาม ม.1383 อายุความไหนยาวกว่าใช้
อันนั้น
เช่น ผิดบุกรุก อายุความ ห้าปี แต่ แพ่งต้องครอบครอง สิบปี ก็ใช้
สิบปี แต่อสังหา จะ สิบปี แน่นอนอยู่แล้ว แต่ กรณีสังหา จะต่างกัน
เช่น สังหา ลักทรัพย์ อายุความ สิบปี แม้ทางแพ่งจะบอกว่า ถ้าครอบ
ครองครอบห้าปีจะได้กรรมสิทธิ์ ก็ ใช้อายุความ สิบปี เพราะยาวกว่า
ตามนัย ม.1383

--------------------------------------------------------------------------------

LW403 / LA403
บทที่ 2 เรื่องสนธิสัญญาออก 1 ข้อ

บทที่ 2 ที่เหลือนอกจากเรื่องสนธิสัญญา เเละ บทที่ 3
(เรื่ององค์ประกอบของรัฐ ถึง ดินแดนของรัฐ ) ออก2 ข้อ

บทที่ 4 ออก 1 ข้อ

(อาจารย์พรพรหมจะติดขอบเขตที่หน้าห้องอีกครั้งนึง ให้ติดตามที่ตึกคณะ)


--------------------------------------------------------------------------------


LW404/ LA354
http://www.law.ru.ac.th/site/index.php?option=com_content&task=view&id=5 2&Itemid=113
อ้างอิง ขอบเขตของ ท่าน อ.ภูมิ



คราวนี้มาดูในส่วนที่สอนในห้องครับ

ข้อ 1. รัฐธรรมนูญ อ.ปรีชา
166 (คล้าย ม.16 วิ.งบฯ) 168 169***+ ม.7(1)-(3) วิงบฯ + 29ทวิ วิงบฯ กรณีจำเป็นเร่งด่วน
เงินใน และ เงินนอกงบประมาณ หลักเกณฑ์การจ่าย + ม.3เงินคงคลัง


ข้อ 2. วิธีงบประมาณ อ.ภูมิ
ม.4 8 9 18 19 27 28


ข้อ 3. เงินคงคลัง อ.ภูมิ
ม.3 4 6 7 พ.ร.บนี้เวลาบรรยาย ท่านไม่ค่อยได้มีโอกาสพูดถึง



ข้อ 4. การบริหารหนี้สาธารณะ อ.พัฒนะ
4 9 14 15 20-11 14 15 35
เน้นที่ ที่ ม.4 5 12 19****


ทั้งนี้ อ.พัฒนะ ท่านได้บอกก่อนปิดคอร์สว่า

ถ้าท่านได้ออก รธน.ให้ดู
1. สว.กับพระมหากษัตริย์
2. อำนาจของ ปธ.สส
3. เกณฑ์การจ่ายเงินแผ่นดิน
4. การใชีงบปีเก่าไปพลางก่อน

เน้น ขั้นตอนหน้า 52 หนังสือ อ.ภูมิ

มาตราการทางด้านการเงินการคลัง ให้ดูว่า
ภาษ๊ ดอกเบี้ย ออกพันธบัตร การลอยตัวค่าเงิน เป็นมาตราการการเงินหรือการคลัง

ให้ดูเรื่องเงินเฟ้อเงินฟืดด้วย

ตามนั้นครับ วิชานี้ ดูให้ครอบคลุมให้มากๆครับ

--------------------------------------------------------------------------------


LW405/ LA438
ข้อ1. เรื่อง “สัญชาติ” (อาจารย์นิวัฒิ วุฒิ)
- สัญชาติ 2508 7 9
- สัญชาติ ฉ.2 4 5 10 11
- สัญชาติ ฉ.3 7 เพิ่ม ว.2
- ปว.337 ข้อ 1 2
- ตัวอย่าง คนพม่า อยู่ไทยตั้งแต่เกิด เรียนๆจนได้เป็น รศ.ดร.
แล้วทำคุณประโยชน์ต่อประเทศไทยมาก ต่อมาถูกถอน
สัญชาติ อันนี้ รมต.ยกเว้นได้ โดยไม่นำ 7ทวิ ไปใช้บังคับ
- ระวัง !!! ม.10 ให้ 7ทวิ ย้อยนหลังไม่ได้
แต่ให้ 7(1) ย้อนหลังได้
ข้อ2. เรื่อง “ขัดกัน” (อาจารย์ ประกอบ ประพันธุ์เนติวุฒิ)
- ดูตัวบท มาตรา 4 5 6 8 9 10 13
- จับคู่ กัน 6+10 , 9+13
ข้อ3. เรื่อง “คดีอาญา รว.ปศ. (องค์การตำรวจสากล)
(อาจารย์ สลิล จิรพิทูร)
- ความผิดเกี่ยวกับ โจรสลัด สลัดอากาศ ฉ้อโกง รว.ปศ.
อาชญากรสงคราม
- ทวนข้อสอบ เก่าๆ
- แต่ตอนนี้เท่าที่อ่านดูข่าว พบแต่ “โจรสลัด” ความเป็นไปได้
ว่าจะมา สูง
ข้อ4. เรื่อง “ ส่งผู้ร้ายข้ามแดน” อาจารย์ นิวัฒิ วุฒิ
- เน้น หลัก 9 ข้อ
- อย่างไรเรียกว่า เป็นความผิดทางการเมือง เน้น ฝรั่งเศส อังกฤษ
- ข้อยกเว้น 6ประการ ที่ไม่ต้องส่งผู้ร้ายฯ
- ไม่ต้องส่งข้ามแดน 4 อย่าง (ดูเผื่อ)

--------------------------------------------------------------------------------

LW406/ LA401
ข้อ 1 เเละ 2
เซ็ทเเรก มา 1 ข้อ
ม39 ,40 ,41 ,42, 42ทวิ ถึง ม46 (ไม่ค่อยออกสอบ),
47(1)-(7) ,48(1) (2)
เซ็ทสอง มา 1 ข้อ
ม56 , 56ทวิ ,57 , 57 ทวิ 57 ตรี ,57 เบญจ


ข้อ 3 เเละ 4
จะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือไม่
ม39 " บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล''
เซ็ทที่ 1 ม66 ,76ทวิ,65
เซ็ทที่ 2 ม67
เซ็ทที่ 3 ม70
เซ็ทที่ 4 ม70ทวิ
★★★ เน้นได้
มีบริษัทต่างประเทศA มีสาขาในไทย สาขาได้ไปซื้อหุ้น
ในตลาดหลักทรัพย์ในไทย (การซื้อหุ้นก็เพื่อหวังเงินปันผล)
หากทางสาขาได้รับเงินปันผลมา ถามว่าบริษัทA มีภาระต้อง
เสียภาษีอย่างไร
ตอบ การซื้อขายหุ้น มิใช่การทำกิจการในไทย ไม่ใช่ราย
ได้ในการประกอบกิจการในประเทศไทย เนื่องจากผุู้ถือหุ้นมิ
ใช่เป็นผู้ประกอบกิจการในไทย ไม่เข้า 66 หรือ76ทวิ แต่เข้า
70 ต้องถือว่ามิได้มีการประกอบกิจการในไทย


--------------------------------------------------------------------------------


LW423/ LA402
- มรรยาททนายความ ให้ดูข้อ 8 10 12 14 15 16 18
ข้อสังเกต หากผิดของไหน ให้ดูว่าผิด 18 ด้วยไหม
---------------------------------1 ข้อ --------------------------------- (อ.จำเริญ)
- เรียบเรียงคำฟ้องคดีอาญา เรื่องพยายามกระทำความผิด
ในส่วนของ ชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน
---------------------------------1 ข้อ --------------------------------- (อ.ปรเมศวร์)
- ท่าน อ. มารุต บอกว่า
ไม่ออกเรื่องฟ้องคดีแพ่ง กับ ขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การ
เพราะออกแล้ว
แต่จะออก
----------- การขอใช้สิทธิคำร้องฝ่ายเดียว ตาม ม.55 วิ.แพ่ง
เช่น เรื่องจักการมรดก เรื่องผู้เยาว์ การร้องคัดค้าน
----------- การถอนฟ้อง
---------- คำให่การในคดีแพ่ง
---------- คำร้องขอให้ชี้ขาดข้อ กม. เบื้องต้น ม.59
---------- คำร้องขอรวมคดี ม.28
---------- คำร้องขอรอคดี ม.39
---------- คำร้องไม่ขอส่งสำเนาให้ฝ่ายตรงข้าม ม.90
---------------------------------2 ข้อ --------------------------------- (อ.มารุต)

--------------------------------------------------------------------------------

LW443/ LA ? วิชาสืบสวนสอบสวน
ของอาจารย์พิเศษครับ 2 ข้อ
ม.2(10) หน้า 2-4 เรื่องความหมายของการสืบสวน
ผู้มีอำนาจในการสืบสวนคดีอาญา ม.17
เขตอำนาจในการสืบสวน หน้า 8
บทที่ 2 ม.226
เรื่อง พยาน กฎแห่งพยานหลักฐาน (ลูกโซ่)หน้า 26-27
การค้นหาพยานวัตถุ หน้า 38-40
การค้นหาดูนะครับว่าต้องการอะไรในคดีนั้น จึงค้นหาพยานวัตถุในคดีนั้น
------------ใช้หนังสือของ พล.ต.ท.เอก อังสนานนท์ ครับ -----------

ส่วนของท่านอาจารย์ประโมทย์
ให้ไปหาชีทถ่ายเอกสาร ราคา1บาท เป็นฎีกาเรื่องผู้เสียหายนะครับ
( ฎีกา 5 ปี ) ใต้ตึกคณะใหม่ชั้น1 ร้านถ่ายเอกสาร

--------------------------------------------------------------------------------


LW447/ LA431
- ความหมาย และ ลักษณะขององค์การระหว่างประเทศ
- สภาพบุคคลขององค์การระหว่างประเทศ
- บุคคลกรขององค์การระหว่างประเทศ
- การสรรหา
- สิทธิและหน้าที่
- องค์การสหประชาชาติ
- สมัชชาใหญ่
- คณะมนตรี ความมั่นคง
- เลขาธิการ
อ้างอิง หน้าห้อง อ. ตึกคณะใหม่ ชั้น 4

--------------------------------------------------------------------------------

LW458/ LA ? วิชากฏหมาย คอม
1 ประวัติศาสขององค์กรร่างกฏหมายไทย

2 ความหมาย ลักษณะ ของ พระราชกำหนด พระราชกฎษฎีกา

3 บทนิยาม

4 ผู้รักษาการตามกฏหมาย

5 ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

ข้อสอบ ออกเเค่ 4 หัวข้อ จาก 5 หัวข้อ หาอ่านได้จากหนังสือครับ

วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เรื่องผู้เยาว์ทำนิติกรรมได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอม

จากเว็บ http://www.fpmconsultant.com/htm/advocate_dtl.php?id=159 เครดิตคุณ ชินโรจน์ ศรัณย์สมบัติ (ทนายความ)


ในเรื่องความสามารถในการใช้สิทธิทำนิติกรรมต่างๆ นั้น กฎหมายได้บัญญัติข้อจำกัดในเรื่องนี้ไว้ในหลักทั่วไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 153 ที่ว่า “การใดมิได้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยความสามารถของบุคคล การนั้นเป็นโมฆียะ”
จากหลักกฎหมายดังกล่าวจะพูดง่ายๆ ก็คือว่า ผู้ที่จะทำนิติกรรมใดๆ ได้นั้นจะต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถเท่านั้นจึงจะทำนิติกรรมได้ ถ้าขาดความสามารถแล้วไปทำนิติกรรมใดๆ ไว้ นิติกรรมนั้นก็จะเป็นโมฆียะ
“โมฆียะกรรมคืออะไร”
“การทำนิติกรรมที่เป็นโมฆียะคือ นิติกรรมนั้นสมบูรณ์เมื่อทำขึ้นมาแล้วใช้บังคับกันได้ตามกฎหมาย แต่มีเหตุบกพร่องบางประการในการแสดงเจตนาของบุคคลผู้แสดงเจตนาในการทำนิติกรรม แต่ความบกพร่องที่ผมว่านี้ไม่ได้ทำให้นิติกรรมที่ทำขึ้นมานั้นต้องเสียเปล่าไป คือไม่เป็นโมฆะ แต่ยังคงใช้บังคับกันได้สมบูรณ์ตามกฎหมายและสมบูรณ์ไปจนกว่านิติกรรมนั้นจะถูกบอกล้าง ซึ่งถ้าไม่มีการบอกล้างนิติกรรมนั้นก็จะสมบูรณ์ตลอดไป”
ตัวอย่างกรณีนี้ กรณีที่ผู้เยาว์อายุยังไม่ถึง 20 ปีบริบูรณ์ ไปทำนิติกรรมคือ ทำสัญญาจะซื้อจะขายรถจักรยานยนต์ โดยมิได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม คือบิดาและมารดาของผู้เยาว์ไม่ได้ยินยอมด้วย กรณีนี้สัญญาจะซื้อจะขายรถจักรยานยนต์ถือว่าเป็นสัญญาที่เป็นโมฆียะ เพราะเรื่องความสามารถของบุคคลผู้เป็นผู้เยาว์ที่จะทำนิติกรรมจะต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน แต่ถึงอย่างไรสัญญาจะซื้อจะขายรถจักรยานยนต์นี้ก็สมบูรณ์บังคับได้ตามกฎหมายไม่เป็นโมฆะ สมบูรณ์ไปตลอดจนกว่าผู้แทนโดยชอบธรรมจะมาบอกล้าง สัญญาจะซื้อจะขายก็จะกลายเป็นโมฆะ
เรื่องความสามารถของบุคคลผู้เยาว์ เป็นบุคคลที่กฎหมายคุ้มครองในการใช้สิทธิทำนิติกรรมต่างๆ โดยหลักแล้วสามารถทำนิติกรรมได้ คือต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน ถ้าการทำนิติกรรมใดๆ โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม การทำนิติกรรมนั้นเป็นโมฆียะ
ความสามารถในการทำนิติกรรมบางอย่างของผู้เยาว์ ทำได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมมีได้ 3 กรณีคือ
(1) นิติกรรมที่ทำขึ้นแล้วทำให้ผู้เยาว์ได้ไปซึ่งสิทธิอันใดอันหนึ่ง หรือเป็นการเพื่อให้หลุดพ้นจากหน้าที่อันใดอันหนึ่ง ตาม ป.พ.พ.มาตรา 22 เช่น มีคนยกทรัพย์สินให้ผู้เยาว์โดยเสน่หา ไม่มีเงื่อนไขใดๆ
เลย ผู้เยาว์สามารถจะรับทรัพย์สินนั้นไว้ได้ โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม เพราะผู้เยาว์ไม่ต้องเสียอะไรเลยได้แต่ประโยชน์อย่างเดียว
(2) นิติกรรมที่เป็นการต้องทำเองเฉพาะตัว ตาม ป.พ.พ.มาตรา 23 เช่น การจดทะเบียนรับรองเด็กเป็นบุตร ที่ผู้เยาว์มีอายุ 15 ปีบริบูรณ์ ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้กับบุคคลอื่น
(3) นิติกรรมที่ทำขึ้นสมฐานานุรูปและเป็นนิติกรรมที่จำเป็น เพื่อการเลี้ยงชีพตามสมควร ตาม
ป.พ.พ.มาตรา 24 เช่น การซื้ออาหาร เครื่องนุ่งห่ม เครื่องมือ เครื่องใช้ในการดำรงชีพ อันเป็นเรื่องที่จำเป็นที่ผู้เยาว์จะต้องทำ

วันจันทร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การทำข้อสอบวิชากฏหมายของคณะนิติฯ รามฯ

เป็นที่รู้กันว่า ข้อสอบวิชากฏหมายของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหงนั้น เป็นข้อสอบแบบ "อัตนัย" หรือพูดง่ายๆก็คือ
เป็นข้อสอบแบบเขียนนั่นเอง จึงทำให้บรรดานักศึกษาที่ไม่ถนัดในการทำข้อสอบแบบนี้ ต้องพากันตกแล้ว ตกเล่า ตกโซดา ตกนํ้าแข็ง
ฯลฯ จนในที่สุดก็เรียนต่อไปไม่ไหวต้องย้ายไปเรียนคณะอื่น บางคนน่าเจ็บใจยิ่งกว่านั้น จำประมวลกฎหมายได้ทุกมาตรา ตอบถูกทุก
ข้อ แต่ก็ยังตก ดังนั้น วันนี้เราจะมาเจาะลึกกันถึงการทำข้อสอบ ว่าทำยังไง เขียนยังไง ตอบยังไงถึงจะผ่าน มาดูกันเลยครับ

1. อันดับแรกเลยก็คือ เมื่อเราได้รับข้อสอบมาแล้วให้อ่านข้อสอบก่อน อ่านให้ครบทุกข้อ และก็เขียนมาตราที่จะ
ต้องใช้ตอบในแต่ละข้อลงไปในข้อสอบด้วย ขั้นตอนนี้ควรจะใช้เวลาไม่เกิน 10 นาที

2. เริ่มทำข้อสอบ เราไม่ต้องลอกคำถามลงไปในสมุดคำตอบ ให้เขียนคำตอบในแต่ละข้อลงไปได้เลย โดยเราจะ
เริ่มทำข้อไหนก่อนก็ได้ แต่ข้อสอบข้อที่เราจะเขียนลงไปในสมุดคำตอบเป็นข้อแรกนั้น ควรจะเป็นข้อที่เราคิดว่าเราทำได้ถูกมากที่สุด
แล้วจึงเรียงลำดับลงมาตามการทำได้ของเรา ตัวอย่างเช่น. ข้อสอบมี 4 ข้อ เราดูแล้วเห็นว่าข้อ 3 เราน่าจะทำได้ถูกมากที่สุด, ข้อ 2
รองลงมา, ข้อ 4 นี่ไม่ค่อยแน่ใจ, ข้อ 1 คิดว่าทำไม่ได้ ดังนี้ เราก็ทำข้อ 3 ก่อน ต่อมาก็ข้อ 2, ข้อ 4 แล้วก็ทำข้อ 1 เป็นข้อสุดท้าย เป็น
ต้น

3. วิธีการเขียนคำตอบในแต่ละข้อ เราต้องเขียนตามลำดับ คือ
- เขียนมาตราของกฎหมายที่จะใช้ในข้อนั้นๆ แต่ถ้าจำเลขมาตราไม่ได้ ก็ให้เขียนแต่เนื้อความของกฎ-
หมายก็ได้ครับ โดยเขียนว่า "..(ชื่อประมวลกฎหมายที่อ้างถึง)..ได้วางหลักไว้ว่า..."
- วิเคราะห์และนำเอาอุทาหรณ์รวมทั้งข้อเท็จจริงในข้อสอบมาปรับใช้กับหลักกฎหมายที่ยกมาข้างต้น
- สรุป โดยการตอบประเด็นที่ข้อสอบถามมาให้ครบทุกข้อด้วยข้อความสั้นๆ กระชับ เข้าใจง่าย

ตัวอย่างการตอบข้อสอบ(ข้อสอบจริง)
วิชา LW 208 ละเมิด จัดการงานนอกสั่ง ลาภมิควรได้
หนุ่ยหลงรักน้อย และสืบทราบมาว่าน้อยเป็นคนรักสุนัขมาก ในวันปีใหม่หนุ่ยจึงไปซื้อสุนัขตัวเล็กซึ่งเป็นพันธุ์ที่ไม่ดุและวาง
ขายอยู่ที่สวนจตุจักร จากนั้นจึงอุ้มนำไปมอบให้น้อยเป็นของขวัญทันที ขณะที่น้อยรับสุนัขมาจากหนุ่ยนั้นเอง ปรากฎว่าสุนัขตกใจจึง
กัดน้อยได้รับบาดเจ็บ หนุ่ยจึงคว้าไม้คานของแจ๋วตีสุนัขจนตาย และไม้คานของแจ๋วหักกระเด็น ดังนี้ ให้ท่านวินิจฉัยว่า น้อยจะเรียก
ร้องให้หนุ่ยรับผิดในเหตุละเมิดทำให้สุนัขตายได้หรือไม่ อย่างไร และแจ๋วจะเรียกร้องให้หนุ่ยรับผิดในการที่ไม้คานของตนหักเสีย
หายได้หรือไม่ อย่างไร
เราจะเห็นว่าข้อสอบถามมาโดยมีประเด็น 2 ประเด็น คือ
- น้อยจะเรียกร้องให้หนุ่ยรับผิดในเหตุละเมิดทำให้สุนัขตายได้หรือไม่ ถ้าได้ ทำไมถึงได้ และถ้าไม่ได้ ทำไมถึงไม่ได้
- แจ๋วจะเรียกร้องให้หนุ่ยรับผิดในการที่ไม้คานของตนหักได้หรือไม่ ถ้าได้ ทำไมถึงได้ และถ้าไม่ได้ ทำไมถึงไม่ได้
จะเห็นว่าข้อสอบถามมาว่า เป็นละเมิด หรือไม่? เราจึงควรต้องวิเคราะห์ก่อนว่า สิ่งที่เกิดขึ้นนั้นเป็นละเมิดหรือเปล่า?แล้ว
จึงตอบประเด็นที่ถามมา เอาล่ะ เรามาตอบข้อสอบกันเลยครับ

ป.พ.พ. มาตรา 420 "ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกาย
ก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิด จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น"
ป.พ.พ. มาตรา 450 วรรค 2 และ 3 "ถ้าบุคคลทำบุบสลาย หรือทำลายทรัพย์สิ่งหนึ่งสิ่งใด เพื่อจะบำบัดปัดป้องภยันตราย
อันมีมาแก่เอกชนโดยฉุกเฉิน ผู้นั้นจะต้องใช้คืนทรัพย์นั้น
ถ้าบุคคลทำบุบสลาย หรือทำลายทรัพย์สิ่งหนึ่งสิ่งใด เพื่อจะป้องกันสิทธิของตนหรือของบุคคลภายนอกจากภยันตรายอันมี
มาโดยฉุกเฉินเพราะตัวทรัพย์นั้นเองเป็นเหตุบุคคลเช่นนี้หาต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่ หากว่าความเสียหายนั้นไม่เกิน
สมควรแก่เหตุ แต่ถ้าภยันตรายนั้นเกิดขึ้นเพราะความผิดของบุคคลนั้นเองแล้ว ท่านว่าจำต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้"

ตามอุทาหรณ์ การที่หนุ่ยส่งมอบสุนัขให้กับน้อย และน้อยได้รับสุนัขมาจากหนุ่ยแล้วนั้น ถือได้ว่าน้อยเป็นเจ้าของสุนัขตัว
นั้นแล้ว ไม่ใช่หนุ่ย ดังนั้นการที่สุนัขกัดน้อยได้รับบาดเจ็บ แล้วหนุ่ยใช้ไม้ตีไปที่สุนัขจนตายนั้น ถือได้ว่าเป็นการทำละเมิดต่อน้อยแล้ว
เพราะสุนัขตัวนั้นได้ตกเป็นทรัพย์สินของน้อยแล้ว จึงเป็นละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 และน้อยก็สามารถเรียกร้องให้หนุ่ยรับผิด
ในกรณีละเมิดนี้ได้ เพราะข้อเท็จจริงปรากฏว่า สุนัขตัวนั้นมีขนาดเล็กและยังเป็นพันธุ์ที่ไม่ดุ ดังนั้นการที่หนุ่ยใช้ไม้ตีสุนัขจนตาย เพื่อ
ป้องกันภยันตรายจากสุนัขตัวนั้นเอง จึงถือได้ว่าเป็นการกระทำเกินสมควรแก่เหตุ หนุ่ยจึงไม่ได้รับนิรโทษกรรมตามมาตรา 450
วรรค 3 หนุ่ยต้องรับผิดฐานละเมิดต่อน้อย
ส่วนในกรณีของแจ๋วนั้น ถือได้ว่าหนุ่ยทำละเมิดต่อแจ๋วตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 เช่นกัน เพราะไม้คานนั้นเป็นของแจ๋ว แต่
เนื่องจากหนุ่ยทำเพื่อป้องกันภยันตรายอันมีมาแก่น้อย(เอกชน)โดยฉุกเฉิน จึงได้รับนิรโทษกรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 450 วรรค 2
หนุ่ยต้องใช้ราคาไม้คานนั้นให้แก่แจ๋ว แจ๋วสามารถเรียกร้องให้หนุ่ยใช้ราคาไม้คานได้

สรุป น้อยจะเรียกร้องให้หนุ่ยรับผิดฐานละเมิดทำให้สุนัขตายได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 เพราะสุนัขตัวนั้นได้ตกเป็นของ
น้อยแล้ว และหนุ่ยก็ได้กระทำไปเกินสมควรแก่เหตุ จึงไม่ได้รับนิรโทษกรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 450 วรรค 3
แจ๋วจะเรียกร้องให้หนุ่ยรับผิดในการที่ไม้คานของตนหักได้ เพราะถึงแม้หนุ่ยจะได้รับนิรโทษกรรมแล้ว แต่หนุ่ยก็ยังต้องใช้
ราคาไม้คานให้แก่แจ๋วอยุ่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 450 วรรค 2

เสร็จแล้วครับ จะเห็นได้ว่า เราไม่จำเป็นที่จะต้องตอบให้มันยาวๆเยิ่นเย้อเลย แต่เราต้องตอบให้ตรงคำถาม และอธิบายให้ตรง
จุด แค่นี้เองครับ

4. อย่าลืมว่าเราต้องตอบให้อาจารย์อ่านออกด้วย ลายมือจึงถือว่าเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะอาจารย์ท่านต้อง
ตรวจข้อสอบเป็นพันๆฉบับ ถ้าท่านอ่านลายมือของเราไม่ออก ท่านคงไม่มานั่งแกะลายมืออยู่หรอกครับ ถึงแม้เราจะตอบถูกก็เถอะ

5. ไม่ควรตอบข้อสอบให้ยาวเยิ่นเย้อเกินความจำเป็น เพราะเวลาอาจารย์ให้คะแนน ท่านไม่ได้ดูว่าเราเขียนมา
ได้กี่หน้า แต่ท่านจะดูว่า ไอ้ที่เราตอบมานั่นน่ะ มันตรงกับที่ข้อสอบถามไว้หรือเปล่า และเราสามารถปรับข้อเท็จจริงตามอุทาหรณ์ให้
เข้ากับหลักกฎหมายที่เรายกมาได้หรือไม่ ฉะนั้น ใครที่คิดว่าเขียนให้มันเยอะๆไว้ก่อนจะได้เปรียบน่ะ คิดซะใหม่นะครับ

6. เวลาเขียนคำตอบ ควรที่จะมีย่อหน้า เว้นวรรคด้วย ไม่ใช่เขียนติดกันเป็นพืด อาจารย์อาจจะตาลายจนไม่
อยากตรวจข้อสอบของเราเลยก็ได้

7. ควรทำข้อสอบให้ครบทุกข้อ แม้แต่ข้อที่เราทำไม่ได้ก็ตาม เพราะบางทีอาจารย์ท่านอาจจะให้ "คะแนนค่า
นํ้าหมึก" ติดมาด้วยสัก 2-3 คะแนน แล้วคะแนนตรงนี้นี่แหละครับ อาจจะช่วยเราจาก F เป็น P หรือจาก P เป็น G เลยก็ได้!!(ไม่เชื่อ
อย่าลบหลู่!!)

8. เมื่อทำข้อสอบเสร็จแล้ว ต้องตรวจคำตอบที่เราตอบไปด้วย เพราะอาจจะมีบางอย่างที่เราตกหล่นไป รวม
ทั้งต้องตรวจ "เลขมาตรา" ที่เขียนลงไปด้วยว่าถูกชัวร์หรือเปล่า(สำคัญมาก!!)

9. เมื่อคิดว่าทำข้อสอบเสร็จหมดทุกข้อแล้ว ก็เดินไปส่งสมุดคำตอบให้อาจารย์ที่คุมสอบเลยครับ(ใครจะเหาะ
หรือดำดินไปส่งก็ได้ ไม่ว่ากัน 555)

--------------------------------------------------------------------------------
เวลาที่เราลำบาก ให้นึกถึงคนที่ลำบากกว่าเรา

วันพฤหัสบดีที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2553

lw209

http://www.meeboard.com/view.asp?user=casper&groupid=2&rid=5124&qid=4736

ขอบเขต LW/LA

LW307 / LA307
- ม 223( 203 ประกอบ 201 202) , 223 ทวิ , 224 ถึง 228
★★★เน้นได้ ม.224 เทียบกับ ม.225 ที่ว่าเรื่องข้อยกเว้น
และให้ดูเรื่องผู้มีสิทธิอุทธรณ์มาด้วย อ้างอิงจาก อ สมชัย
-------------------------------- 1 ข้อ ---------------------------------


- ม229 , 230+224 , 231 , 232 , 234 , 236 ( 244 245 ดูเผื่อๆไว้ ) เเละให้ดูลักษณะ 2 ฎีกามาด้วย
★★★ เน้นได้ ม.230 ว.ท้าย+232 คือ ต้องดูควบกันไป
แม้ศาลชั้นต้นจะได้รับอุทธรณ์ไว้แล้วก็ตาม ก็ไม่ตัตสิทธิศาล
ชั้นต้นที่จะ ปฏิเสธไม่ส่งอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ ตรงนี้ !!!
ผู้อุทธรณ์สามารถอุทธรณ์ คำสั่งศาลที่ปฏิเสธไม่ส่งได้ ตาม
ม.229 เพราะ ม.232 ไม่ได้บัญญัติว่า ที่ศาลชั้นต้นปฏิเสธไม่
ส่งอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ คำสั่งนั้นเป็นที่สุด
เผื่อออกครับ --- >
คำสั่งคำร้องที่ 848/2551 ม232 + 234 + 236 การชี้ขาดคำ
ร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ ตามหลักศาลอุทธรณ์ต้องชี้
ขาดไปตามเนื้อหาของฟ้องอุทธรณ์ เเต่คำสั่งคำร้องดังกล่าว
ออกนอกเหนือไปจากหลัก ใจความว่า เเม้มิใช่เนื้อหาของคำ
ฟ้องอุทธรณ์ เเต่มีลักษณะเดียวกับที่ศาลชั้นต้นสั่ง ไม่รับ
อุทธรณ์ คำสั่งของศาลอุทธรณ์จึง ( เป็นที่สุด ) จะฎีกาต่อไป
มิได้ อ้างอิง จาก อ สุรชัย
---------------------------------1 ข้อ ---------------------------------


- ม271 287 288
★★★ เน้นได้ ม 287 วิ.แพ่ง และ ป.พ.พ. มาตรา 491, 1336
คำพิพากษาฎีกาที่ 4832/2536 วินิจฉัยว่า บ้านพิพาทตกเป็น
กรรมสิทธิ์ของโจทก์โดยการขายฝาก บ้านพิพาทจึงมิใช่
ทรัพย์สินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาแต่อย่างใด
การที่โจทก์ขอให้บังคับคดีและเจ้าพนักงานบังคับคดีจัดการ
ให้โจทก์เข้าครอบครองบ้านพิพาทนั้น เป็นการใช้สิทธิติดตาม
และเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของโจทก์จากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิที่จะยึด
ไว้ มิใช่เป็นการบังคับคดีหรือบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สิน
ของจำเลยผู้เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา จึงไม่เข้าเกณฑ์ตาม
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในอัน
ที่ผู้ร้องจะขอกันส่วนบ้านพิพาทในคดีนี้ได้ ทั้งนี้เพราะการร้อง
ขอกันส่วนได้แก่การที่บุคคลภายนอกผู้เป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิ
หรือสิทธิอื่น ๆ ร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ตาม
คำพิพากษาที่มีการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินนั้น หรือขอให้เอาเงิน
ที่ได้จากการขายหรือจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำ
พิพากษามาชำระหนี้ของตนก่อนเจ้าหนี้อื่นตามประมวล
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 หรือ 289 แล้วแต่
กรณีศาลอุทธรณ์พิพากษาให้กันส่วนเฉพาะเงินที่ขายทอด
ตลาดทรัพย์ที่ยึดรวม 5 รายการให้แก่ผู้ร้องกึ่งหนึ่ง ศาลฎีกา
เห็นพ้องด้วยในผล
---------------------------------1 ข้อ ---------------------------------


- ม 253 , 253ทวิ , 254 , 264 ท่านอ.นครบอกว่าจะออก 264
และจะออกตามที่บรรยายในชั้นเรียน ครั้งสุดท้าย
สำหรับผู้ไม่มีเวลาเข้าฟัง ก็โหลดไปอ่านได้เลยยยยย
http://up2u.in.th/index.php/files/get/TMHE9tvUq_/..doc โดยนู๋นิวส์
★★★ ตัวอย่าง หน้า 3 ที่ว่าเป็นข้อสอบเนติ น่าสนใจมากๆ ^^.
---------------------------------1 ข้อ ---------------------------------



--------------------------------------------------------------------------------

LW310 / LA302

SEC.2 (ท่าน อ.พิมพ์ใจ)
ข้อ.1 1038 1050 1051 1052 1053 1054 1066 1067 และ 1068
ข้อ.2 1079-1095
ข้อ.3 1105 1113 1123 1132 1133 1151-1155 และ 1175-1195
SEC.2 (ท่าน อ.รัฐติชัย)
เฉพาะห้างหุ้นส่วน 1012 1013 1015 1018 1021 1022 1023
1025 1038 1040 1041 1047 1048 1049 1050 1051 1052
1053 1055 1057 1060 1064 1065 1066 1072 1077 1079
1082 1085 1087 1088 1090 1097 1095
SEC.1 (ท่าน อ.ธีระ)
ข้อ.1 1012 1022 1023 1025 1038 1050-1054 1066 1068 1070 และ 1072
ข้อ.2 1077 1079 1080( +1066 หรือ +1068 ได้ด้วย ) 1082 1087 1088 และ 1095
ข้อ.3 1113 1114 1129 1151 1173 1175 1178 1190 1194 1195 1220 และ 1224( +1017 )
★★★ ทั้งนี้ ได้สอบถาม อ.ธีระ แล้วได้คำตอบมาว่า ท่านออกคนเดียว O_O '' ดังนั้นดูขอบของท่านก็น่าจะพอ ^^ ตามนั้นครับ ★★★



--------------------------------------------------------------------------------

LW313 / LA310

ข้อ 1 มาตรา 22(3)+146 +ฎีกาที่5268/2551

ข้อ 2 ออกสอบในส่วนของมาตรา 91-108 เน้นที่ มาตรา 91
(ฎ.6084/2548 ,ฎ.3788/2549 , ฎ.44/2549 ,ฎ.2110/2540 , ฎ.3620/2530 , ฎ.1679/2551 , ฎ.5355/2530 )
ข้อ 3
- ออโตเมติกสเต
- ผลเมื่อศาลรับสั่งคำร้องขอ แล้ว ศาลไม่ให้ทำอะไร กันบ้าง
- ผลของคำสั่งที่ ศ สั่งให้ ฟื้นฟูกิจการ เมื่อศาล สั่ง แล้ว ผล เป็นอย่างไร
- การพิจารณาตั้งผู้ทำแผน ศ พิจารณาอะไรบ้าง
คำถามออกในรูปตุ๊กตา แต่ให้อธิบายเหมือนความจำ (อธิบายกฎหมาย)
ตุ๊กตาทำโน้น นี่ กัน แต่เวลาตอบก็อธิบายตามกฎหมาย
เช่นมีกระบวนพิจารณาอย่างไร ต้องทำอย่างไร เมื่อมีปัญหา แบบนี้ต้องทำ อย่างไรต่อ ที่ทำไปชอบไหม?

มาตราสำคัญ ฟื้นฟู ที่ต้องท่องให้ได้
90/3 /5 /6 /8(เพิ่งออกเทอมที่ผ่านมา) /10 /11 เป็นหลัก
/12 (4),(5),(6)**,(7),(9) + /13 +/14 +/15 ผลการจำกัดสิทธิหลังศ.สั่งฟื้นฟู
/17 การพิจารณาแต่งตั้งผู้ทำแผน
นอกนั้น ลองดูเพิ่มเติมตามที่ อ. สอนในชั้นบรรยาย
อนึ่งหลังจาก /27 ไม่ต้องดู เพราะเหมือนกับวิธีการของล้มละลาย !

--------------------------------------------------------------------------------

LW402 / LA408
พรบ.ให้ใช้ ป.ที่ดิน
ม.5 8 9

ป.ที่ดิน
ม.1 คำว่า สิทธิในที่ดิน,โฉนดที่ดิน
ม.3 ม.4ทวิ ม.27ตรี ม.31 ม.58ว.1-3
ม.58ทวิ ม.59 ม.59ทวิ ม.71 ม.72 เน้นที่วรรคสอง
ม.78 เน้นหลักเกณฑ์ตามคำบรรยายในห้องเรียน
ม.79 เน้นหลักเกณฑ์ตามคำบรรยายในห้องเรียน
ม.81 ม.82 ม.83

ข้อสอบส่วนใหญ่เน้นไปที่ การออกโฉนดที่ดินนะครับ
ถ้าเป็น LA จะมีสามข้อ วินิจฉัยหมด
ถ้าเป็น LW จะสี่ข้อ วินิจฉัยสาม ความจำหนึ่งข้อ
(แต่อาจจะวินิจฉัยสี่ข้อได้ แล้วแต่อาจารย์)


อย่างที่กล่าวไปว่า ม.78 และ 79
ไม่ต้องท่องมาตรา อาจารย์ท่านบอกให้จำหลักเกณฑ์ที่บอกในห้อง
เรียนแต่ถ้าใครไม่ได้เข้าเรียน ผมได้พิมพ์มาให้ท่านแล้วตามนี้เลยครับ

การจดทะเบียนการครอบครองปรปักษ์ ม.78
หลักเกณฑ์การได้มาและขั้นตอนการจดทะเบียนมีดังนี้
1.ครอบครองให้ครบหลักเกณฑ์ ใน ปพพ.ม.1382
1.1 ครอบครองที่ดินซึ่งผู้อื่นมีกรรมสิทธิ์ – มีโฉนดที่ดิน
1.2 ครอบครองโดยสงบ – จะไม่สงบเมื่อถูกกำจัดด้วยอำนาจทางกฎหมาย
1.3 ครอบครองโดยเปิดเผย
1.4 ครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ คือ เป็นปรปักษ์นั่นเอง
1.5 ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา 10ปี
- กรณีไม่สุจริตก็ครอบครองได้ แต่ ต้องดู อายุความ อาญาด้วยเผื่อ
โดนฟ้องดำเนินคดี ตาม ม.1383 อายุความไหนยาวกว่าใช้อันนั้น
- การครอบครองปรปักษ์ เป็นการได้มาโดยทางอื่น ตาม ม.1299 ว.2
2. ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคำสั่งว่า ผู้นั้นได้กรรมสิทธิ์โดยการ
ครอบครองปรปักษ์ ตาม ม.1382
3. นำคำสั่งหรือคำพิพากษาอันถึงที่สุดของศาลพร้อมด้วยโฉนดที่ดิน
ซึ่งได้กรรมสิทธิ์ไปทำการจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่


การรวมที่ดินหลายแปลงเข้าเป็นแปลงเดียวกัน ตาม ม.79
หลักเกณฑ์
1.ที่ดินทุกแปลงต้องมีหนังสือสำคัญแสดงสิทธิชนิดเดียวกัน
2.ผู้มีชื่อในหนังสือแสดงสิทธิต้องเหมือนกันและยังมีชีวิตอยู่
3.ที่ดินทุกแปลงต้องติดต่อเป็นผืนเดียวกันโดยสภาพ
4.ที่ดินทุกแปลงต้องอยู่ในเขตจังหวัดเดียวกัน (ต่างอำเภอได้)
5.ที่ดินทุกแปลงต้องอยู่ในเขตสำนักงานที่ดินเดียวกัน
ที่ว่า.....กรณีไม่สุจริตก็ครอบครองได้ แต่ ต้องดู อายุความ อาญา
ด้วยเผื่อโดนฟ้องดำเนินคดี ตาม ม.1383 อายุความไหนยาวกว่าใช้
อันนั้น
เช่น ผิดบุกรุก อายุความ ห้าปี แต่ แพ่งต้องครอบครอง สิบปี ก็ใช้
สิบปี แต่อสังหา จะ สิบปี แน่นอนอยู่แล้ว แต่ กรณีสังหา จะต่างกัน
เช่น สังหา ลักทรัพย์ อายุความ สิบปี แม้ทางแพ่งจะบอกว่า ถ้าครอบ
ครองครอบห้าปีจะได้กรรมสิทธิ์ ก็ ใช้อายุความ สิบปี เพราะยาวกว่า
ตามนัย ม.1383

--------------------------------------------------------------------------------

LW403 / LA403
บทที่ 2 เรื่องสนธิสัญญาออก 1 ข้อ

บทที่ 2 ที่เหลือนอกจากเรื่องสนธิสัญญา เเละ บทที่ 3
(เรื่ององค์ประกอบของรัฐ ถึง ดินแดนของรัฐ ) ออก2 ข้อ

บทที่ 4 ออก 1 ข้อ

(อาจารย์พรพรหมจะติดขอบเขตที่หน้าห้องอีกครั้งนึง ให้ติดตามที่ตึกคณะ)



--------------------------------------------------------------------------------


LW404/ LA354
http://www.law.ru.ac.th/site/index.php?option=com_content&task=view&id=5 2&Itemid=113
อ้างอิง ขอบเขตของ ท่าน อ.ภูมิ



คราวนี้มาดูในส่วนที่สอนในห้องครับ

ข้อ 1. รัฐธรรมนูญ อ.ปรีชา
166 (คล้าย ม.16 วิ.งบฯ) 168 169***+ ม.7(1)-(3) วิงบฯ + 29ทวิ วิงบฯ กรณีจำเป็นเร่งด่วน
เงินใน และ เงินนอกงบประมาณ หลักเกณฑ์การจ่าย + ม.3เงินคงคลัง


ข้อ 2. วิธีงบประมาณ อ.ภูมิ
ม.4 8 9 18 19 27 28


ข้อ 3. เงินคงคลัง อ.ภูมิ
ม.3 4 6 7 พ.ร.บนี้เวลาบรรยาย ท่านไม่ค่อยได้มีโอกาสพูดถึง



ข้อ 4. การบริหารหนี้สาธารณะ อ.พัฒนะ
4 9 14 15 20-11 14 15 35
เน้นที่ ที่ ม.4 5 12 19****


ทั้งนี้ อ.พัฒนะ ท่านได้บอกก่อนปิดคอร์สว่า

ถ้าท่านได้ออก รธน.ให้ดู
1. สว.กับพระมหากษัตริย์
2. อำนาจของ ปธ.สส
3. เกณฑ์การจ่ายเงินแผ่นดิน
4. การใชีงบปีเก่าไปพลางก่อน

เน้น ขั้นตอนหน้า 52 หนังสือ อ.ภูมิ

มาตราการทางด้านการเงินการคลัง ให้ดูว่า
ภาษ๊ ดอกเบี้ย ออกพันธบัตร การลอยตัวค่าเงิน เป็นมาตราการการเงินหรือการคลัง

ให้ดูเรื่องเงินเฟ้อเงินฟืดด้วย

ตามนั้นครับ วิชานี้ ดูให้ครอบคลุมให้มากๆครับ

--------------------------------------------------------------------------------


LW405/ LA438
ข้อ1. เรื่อง “สัญชาติ” (อาจารย์นิวัฒิ วุฒิ)
- สัญชาติ 2508 7 9
- สัญชาติ ฉ.2 4 5 10 11
- สัญชาติ ฉ.3 7 เพิ่ม ว.2
- ปว.337 ข้อ 1 2
- ตัวอย่าง คนพม่า อยู่ไทยตั้งแต่เกิด เรียนๆจนได้เป็น รศ.ดร.
แล้วทำคุณประโยชน์ต่อประเทศไทยมาก ต่อมาถูกถอน
สัญชาติ อันนี้ รมต.ยกเว้นได้ โดยไม่นำ 7ทวิ ไปใช้บังคับ
- ระวัง !!! ม.10 ให้ 7ทวิ ย้อยนหลังไม่ได้
แต่ให้ 7(1) ย้อนหลังได้
ข้อ2. เรื่อง “ขัดกัน” (อาจารย์ ประกอบ ประพันธุ์เนติวุฒิ)
- ดูตัวบท มาตรา 4 5 6 8 9 10 13
- จับคู่ กัน 6+10 , 9+13
ข้อ3. เรื่อง “คดีอาญา รว.ปศ. (องค์การตำรวจสากล)
(อาจารย์ สลิล จิรพิทูร)
- ความผิดเกี่ยวกับ โจรสลัด สลัดอากาศ ฉ้อโกง รว.ปศ.
อาชญากรสงคราม
- ทวนข้อสอบ เก่าๆ
- แต่ตอนนี้เท่าที่อ่านดูข่าว พบแต่ “โจรสลัด” ความเป็นไปได้
ว่าจะมา สูง
ข้อ4. เรื่อง “ ส่งผู้ร้ายข้ามแดน” อาจารย์ นิวัฒิ วุฒิ
- เน้น หลัก 9 ข้อ
- อย่างไรเรียกว่า เป็นความผิดทางการเมือง เน้น ฝรั่งเศส อังกฤษ
- ข้อยกเว้น 6ประการ ที่ไม่ต้องส่งผู้ร้ายฯ
- ไม่ต้องส่งข้ามแดน 4 อย่าง (ดูเผื่อ)

--------------------------------------------------------------------------------

LW406/ LA401
ข้อ 1 เเละ 2
เซ็ทเเรก มา 1 ข้อ
ม39 ,40 ,41 ,42, 42ทวิ ถึง ม46 (ไม่ค่อยออกสอบ),
47(1)-(7) ,48(1) (2)
เซ็ทสอง มา 1 ข้อ
ม56 , 56ทวิ ,57 , 57 ทวิ 57 ตรี ,57 เบญจ


ข้อ 3 เเละ 4
จะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือไม่
ม39 " บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล''
เซ็ทที่ 1 ม66 ,76ทวิ,65
เซ็ทที่ 2 ม67
เซ็ทที่ 3 ม70
เซ็ทที่ 4 ม70ทวิ
★★★ เน้นได้
มีบริษัทต่างประเทศA มีสาขาในไทย สาขาได้ไปซื้อหุ้น
ในตลาดหลักทรัพย์ในไทย (การซื้อหุ้นก็เพื่อหวังเงินปันผล)
หากทางสาขาได้รับเงินปันผลมา ถามว่าบริษัทA มีภาระต้อง
เสียภาษีอย่างไร
ตอบ การซื้อขายหุ้น มิใช่การทำกิจการในไทย ไม่ใช่ราย
ได้ในการประกอบกิจการในประเทศไทย เนื่องจากผุู้ถือหุ้นมิ
ใช่เป็นผู้ประกอบกิจการในไทย ไม่เข้า 66 หรือ76ทวิ แต่เข้า
70 ต้องถือว่ามิได้มีการประกอบกิจการในไทย


--------------------------------------------------------------------------------


LW423/ LA402
- มรรยาททนายความ ให้ดูข้อ 8 10 12 14 15 16 18
ข้อสังเกต หากผิดของไหน ให้ดูว่าผิด 18 ด้วยไหม
---------------------------------1 ข้อ --------------------------------- (อ.จำเริญ)
- เรียบเรียงคำฟ้องคดีอาญา เรื่องพยายามกระทำความผิด
ในส่วนของ ชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน
---------------------------------1 ข้อ --------------------------------- (อ.ปรเมศวร์)
- ท่าน อ. มารุต บอกว่า
ไม่ออกเรื่องฟ้องคดีแพ่ง กับ ขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การ
เพราะออกแล้ว
แต่จะออก
----------- การขอใช้สิทธิคำร้องฝ่ายเดียว ตาม ม.55 วิ.แพ่ง
เช่น เรื่องจักการมรดก เรื่องผู้เยาว์ การร้องคัดค้าน
----------- การถอนฟ้อง
---------- คำให่การในคดีแพ่ง
---------- คำร้องขอให้ชี้ขาดข้อ กม. เบื้องต้น ม.59
---------- คำร้องขอรวมคดี ม.28
---------- คำร้องขอรอคดี ม.39
---------- คำร้องไม่ขอส่งสำเนาให้ฝ่ายตรงข้าม ม.90
---------------------------------2 ข้อ --------------------------------- (อ.มารุต)

--------------------------------------------------------------------------------

LW443/ LA ? วิชาสืบสวนสอบสวน
ของอาจารย์พิเศษครับ 2 ข้อ
ม.2(10) หน้า 2-4 เรื่องความหมายของการสืบสวน
ผู้มีอำนาจในการสืบสวนคดีอาญา ม.17
เขตอำนาจในการสืบสวน หน้า 8
บทที่ 2 ม.226
เรื่อง พยาน กฎแห่งพยานหลักฐาน (ลูกโซ่)หน้า 26-27
การค้นหาพยานวัตถุ หน้า 38-40
การค้นหาดูนะครับว่าต้องการอะไรในคดีนั้น จึงค้นหาพยานวัตถุในคดีนั้น
------------ใช้หนังสือของ พล.ต.ท.เอก อังสนานนท์ ครับ -----------

ส่วนของท่านอาจารย์ประโมทย์
ให้ไปหาชีทถ่ายเอกสาร ราคา1บาท เป็นฎีกาเรื่องผู้เสียหายนะครับ
( ฎีกา 5 ปี ) ใต้ตึกคณะใหม่ชั้น1 ร้านถ่ายเอกสาร

--------------------------------------------------------------------------------


LW447/ LA431
- ความหมาย และ ลักษณะขององค์การระหว่างประเทศ
- สภาพบุคคลขององค์การระหว่างประเทศ
- บุคคลกรขององค์การระหว่างประเทศ
- การสรรหา
- สิทธิและหน้าที่
- องค์การสหประชาชาติ
- สมัชชาใหญ่
- คณะมนตรี ความมั่นคง
- เลขาธิการ
อ้างอิง หน้าห้อง อ. ตึกคณะใหม่ ชั้น 4

--------------------------------------------------------------------------------

LW458/ LA ? วิชากฏหมาย คอม
1 ประวัติศาสขององค์กรร่างกฏหมายไทย

2 ความหมาย ลักษณะ ของ พระราชกำหนด พระราชกฎษฎีกา

3 บทนิยาม

4 ผู้รักษาการตามกฏหมาย

5 ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

ข้อสอบ ออกเเค่ 4 หัวข้อ จาก 5 หัวข้อ หาอ่านได้จากหนังสือครับ

วันอังคารที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

มีตัวบทย่อ lw 306 มาฝาก.....

ตัวบทย่อ lw306 ที่รวบรวมมาจากคำบรรยายของอาจารย์

ป.วิ.แพ่ง มาตรา ๓ เพื่อประโยชน์ในการเสนอคำฟ้อง
(๑) มูลคดีเกิดใน (เรือ/อากาศยาน)ไทย ฟ้องต่อศาลแพ่ง
(๒) จำเลยไม่มีภูมิลำเนาในราชฯ
(ก) จำเลยเคยมีภูมิลำเนาในราชฯในกำหนด ๒ ปี
(ข) จำเลยประกอบหรือเคยประกอบกิจการในราชฯในกำหนด ๒ ปี
ป.วิ.แพ่ง มาตรา ๔ เขตอำนาจศาล กรณีทำเป็นคำฟ้องหรือคำร้องขอ (หลักทั่วไป) (หนี้เหนือบุคคล)
(๑) คำฟ้อง ให้เสนอต่อศาลที่จำเลย มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล หรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้น
(๒) คำร้องขอ ให้เสนอต่อศาล ที่มูลคดีเกิดขึ้น หรือต่อศาลที่ผู้ร้อง มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล
ป.วิ.แพ่ง มาตรา ๔ ทวิ คำฟ้องเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิหรือประโยชน์ อันเกี่ยวด้วย อสังฯ ให้เสนอต่อศาลที่อสังฯนั้นตั้งอยู่ ( ไม่ว่าจำเลยมีภูมิลำเนาในราชฯหรือไม่ )หรือต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล
ป.วิ.แพ่ง มาตรา ๔ ตรี คำฟ้องอื่นนอกจากมาตรา ๔ ทวิ จำเลยไม่มีมีภูมิลำเนาอยู่ในราชฯและ มูลคดีไม่เกิดในราชฯ ถ้าโจทก์มีสัญชาติไทย หรือ มีภูมิลำเนาอยู่ในราชฯให้เสนอต่อศาลแพ่ง หรือแจ้งต่อศาลโจทก์
คำฟ้องตามวรรคหนึ่ง ถ้าจำเลยมีทรัพย์ ที่อาจถูกบังคับคดีได้อยู่ในราชฯ เสนอคำฟ้องต่อศาล ที่ทรัพย์นั้นตั้งอยู่ ก็ได้
ป.วิ.แพ่ง มาตรา ๔ จัตวา คำร้องขอแต่งตั้ง ผู้จัดการมรดก ให้เสนอต่อศาล ที่เจ้ามรดกมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล ในขณะถึงแก่ความตาย
ถ้าเจ้ามรดก ไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชฯ ให้เสนอต่อศาล ที่ทรัพย์มรดกอยู่ในเขตศาล
ป.วิ.แพ่ง มาตรา ๕ คดีที่มีเขตอำนาจหลายศาล เพราะภูมิลำเนาของบุคคล ที่ตั้งของทรัพย์สิน สถานที่ที่เกิดมูลคดี หรือ มีข้อหาหลายข้อ ถ้ามูลความแห่งคดีเกี่ยวข้องกัน เสนอศาลใดก็ได้
ป.วิ.แพ่ง มาตรา ๗ มาตรา ๔ , ๔ ทวิ , ๔ ตรี , ๔ จัตวา , ๔ เบญจ , ๔ ฉ , มาตรา ๕ , มาตรา ๖ ต้องอยู่ภายใต้ มาตรา ๗
1. คำฟ้องหรือคำร้องขอ ที่เสนอภายหลัง คดีที่ค้างพิจารณาในศาลใด ให้ยื่นศาลนั้น
4. ให้ศาลถอน คำร้องที่เสนอ ให้ศาลถอนคืน ศาลใดแต่งตั้ง ก็ให้เสนอต่อศาลนั้น
ป.วิ.แพ่ง มาตรา ๕๕ อำนาจฟ้องมี ๒ เหตุ คือ ๑) ถูกโต้แย้งสิทธิ ๒) ต้องการใช้สิทธิทางศาล
ป.วิ.แพ่ง มาตรา ๕๖ การดำเนินคดี ของผู้ไร้ความสามารถ หรือ ผู้ทำการแทน ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยความสามารถ และตามบทบัญญัติ แห่งกฎหมายนี้ การให้อนุญาตหรือยินยอม ให้ทำเป็นหนังสือต่อศาล เพื่อรวมไว้ในสำนวน
ก่อนมีคำพิพากษา เมื่อศาลเห็นหรือคู่ความขอ ศาลมีคำสั่ง ให้แก้ไขข้อบกพร่องนั้นได้
เพื่อความยุติธรรม ศาลจะสั่งให้ฝ่ายบกพร่อง ดำเนินคดีไปก่อนชั่วคราว แต่ห้ามพิพากษาจนกว่าข้อบกพร่องนั้นจะได้แก้ไขแล้ว
การตั้งผู้แทนเฉพาะคดี ถ้าไม่มีบุคคลใด ศาลตั้งอัยการ หรือพนักงาน ฝ่ายปกครองอื่น เป็นผู้แทนก็ได้
ป.วิ.แพ่ง มาตรา ๕๗ บุคคลภายนอก ซึ่งมิใช่คู่ความ อาจเข้ามาเป็นคู่ความ ได้ด้วยการร้องสอด
(๑) ด้วยความสมัครใจ เพื่อยังให้ได้ความรับรอง คุ้มครอง หรือ บังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ โดยยื่นต่อศาล ที่ออกหมายบังคับคดี
(๒) ด้วยความสมัครใจ เพราะตนมีส่วนได้เสียตามกฎหมาย ในผลแห่งคดี
(๓) ถูกหมายเรียกเข้ามา (ก.) ตามคำขอของคู่ความ หรือ (ข.) โดยคำสั่งศาล
ป.วิ.แพ่ง มาตรา ๕๘ ผู้ร้องสอดเข้ามา ตามมาตรา ๕๗(๑),(๓) มีสิทธิเสมือนได้ฟ้อง หรือถูกฟ้อง เป็นคดีเรื่องใหม่
ผู้ร้องสอดเข้ามา ตามมาตรา ๕๗(๒) ห้ามใช้สิทธิอย่างอื่น หรือขัดต่อสิทธิ ของคู่ความเดิม
ผู้ร้องสอด ย่อมต้องผูกพัน ตามคำพิพากษา เว้นแต่
1. เพราะความประมาท ของคู่ความ ทำให้ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดี ช้า เกินควร ที่จะแสดงข้อเถียง อันเป็นสาระสำคัญได้
2. คู่ความจงใจ หรือประมาทร้ายแรง ไม่ยกปัญหาข้อกฎหมาย หรือข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ ที่ผู้ร้องสอด มิได้รู้ว่ามีอยู่เช่นนั้น
ป.วิ.แพ่ง มาตรา ๕๙ บุคคลอาจเป็นคู่ความร่วมกันในคดี ถ้ามีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี
แต่มิให้ถือว่าแทนที่กัน เว้นแต่มูลความแห่งคดี เป็นการชำระหนี้ ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ หรือ
มีกฎหมาย บัญญัติให้แทนที่กันได้ ดังจะกล่าวต่อไปนี้
1. กระบวนพิจารณา ที่ได้ทำโดยคู่ความร่วมคนหนึ่ง เว้นแต่กระบวนพิจารณา ที่เสื่อมเสียแก่คู่ความร่วมคนอื่น
2. การเลื่อนหรือการงดพิจารณาคดี ที่เกี่ยวกับคู่ความร่วมคนหนึ่ง ให้ใช้ถึง คู่ความร่วมคนอื่นๆ
ป.วิ.แพ่ง มาตรา ๑๔๔ เมื่อศาลมีคำพิพากษา หรือ คำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดี หรือในประเด็นข้อใด แห่งคดีแล้ว (คดีจะถึงที่สุดหรือไม่ก็ได้) ห้าม (โจทก์ /จำเลย / ศาล ) ดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ในเรื่องเดียวกัน เว้นแต่ ......
ป.วิ.แพ่ง มาตรา ๑๔๘ คดีถึงที่สุดแล้ว ห้ามคู่ความเดียวกัน รื้อร้องฟ้องกันอีก ในประเด็นที่ได้วินิจฉัย โดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน(ฟ้องซ้ำ) เว้นแต่
(๑) ชั้นบังคับคดี ตามคำพิพากษา หรือ ตามคำสั่งศาล
(๒) วิธีการชั่วคราว
(๓) ไม่ตัดสิทธิโจทก์ ฟ้องใหม่ในอายุความ
ป.วิ.แพ่ง มาตรา ๑๗๓ เมื่อศาล ได้รับคำฟ้องแล้ว ให้ศาลออกหมาย ส่งสำเนาคำฟ้อง ให้แก่จำเลยเพื่อแก้คดี ภายในกำหนด ๗ วัน นับแต่วันยื่นฟ้อง โจทก์ร้อง ขอพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อส่งหมายนั้น
คดีอยู่ระหว่างพิจารณา
(๑) ห้ามมิให้โจทก์ ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกัน ต่อศาลเดียวกันหรือศาลอื่น ( ฟ้องซ้อน )
ป.วิ.แพ่ง มาตรา ๑๗๔ กรณีต่อไปนี้ ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง
(๑) ภายหลัง ที่ได้เสนอคำฟ้องแล้ว โจทก์ไม่ร้องขอ ต่อเจ้าพนักงาน เพื่อให้ส่งหมายเรียก เพื่อแก้คดีแก่จำเลย และไม่แจ้งเหตุเพิกเฉย ในกำหนด ๗ วัน
(๒) โจทก์เพิกเฉย ไม่ดำเนินคดี ภายในเวลา ที่ศาลกำหนด
ป.วิ.แพ่ง มาตรา ๑๗๖ การทิ้งคำฟ้องหรือ ถอนคำฟ้อง ย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้อง รวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่นๆ และทำให้คู่ความ กลับคืนสู่ฐานะเดิม เสมือนมิได้ฟ้อง แต่ยื่นฟ้องใหม่ได้ในอายุความ
ป.วิ.แพ่ง มาตรา ๑๗๗ เมื่อส่งหมายเรียก และ คำฟ้องให้จำเลยแล้ว ให้จำเลยทำคำให้การ เป็นหนังสือ ยื่นต่อศาล ภายใน ๑๕ วัน
คำให้การ ต้องแสดงชัดแจ้งว่า ยอมรับหรือปฏิเสธ ทั้งหมดหรือบางส่วน รวมทั้งเหตุแห่งการนั้น
จำเลยฟ้องแย้งมา ในคำให้การได้ แต่ต้องเกี่ยวกับฟ้องเดิม ถ้าฟ้องแย้งไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม ศาลสั่งจำเลย ฟ้องเป็นคดีต่างหาก
ให้ศาลตรวจคำให้การ แล้วสั่งรับไว้ หรือไม่รับ หรือ คืนไป ตามที่บัญญัติใน มาตรา ๑๘
มาตรานี้ ให้ใช้บังคับแก่ผู้ร้องสอด ตามมาตรา 57 (3) โดยอนุโลม
ป.วิ.แพ่ง มาตรา ๑๗๙ โจทก์จำเลยจะแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องหรือคำให้การที่เสนอต่อศาล แต่แรกก็ได้
โดยการแก้ไข ในข้อต่อไปนี้
1. เพิ่มหรือลด จำนวนทุนทรัพย์ หรือราคาทรัพย์สินที่พิพาท
2. สละข้อหาบางข้อ เสนอคำฟ้องเพิ่มเติม เสนอคำฟ้องคุ้มครอง สิทธิของตนระหว่างพิจารณา หรือ เพื่อบังคับตามคำพิพากษา หรือ คำสั่ง
3. ฟ้องแย้ง ต้องเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม พอที่จะรวมพิจารณา และชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้
ป.วิ.แพ่ง มาตรา ๑๘๐ การแก้ไขคำฟ้อง หรือคำให้การ ให้ทำเป็นคำร้อง ยื่นต่อศาล ก่อนวันชี้ สองสถาน หรือก่อนวันสืบพยาน ไม่น้อยกว่า ๗ วัน แล้วแต่กรณี เว้นแต่ มีเหตุอันควร หรือ เกี่ยวกับความสงบฯ หรือ แก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อย
ป.วิ.แพ่ง มาตรา ๑๙๗ จำเลยได้รับหมายเรียกแล้ว ไม่ยื่นคำให้การภายในกำหนด ถือว่าขาดนัดยื่นคำให้การ
ป.วิ.แพ่ง มาตรา ๑๙๘ จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ให้โจทก์มีคำขอต่อศาล ภายใน ๑๕ วัน นับแต่ระยะเวลาที่กำหนด ให้จำเลยยื่นคำให้การสิ้นสุดลง ให้ศาลพิพากษาให้ตน เป็นฝ่ายชนะคดีโดยขาดนัด
ถ้าโจทก์ไม่ยื่นคำขอ ตามกำหนดดังกล่าว ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดี
ถ้าโจทก์ยื่นคำขอ ตามกำหนดดังกล่าว ให้ศาลสั่งตาม ม.๑๙๘ ทวิ เว้นแต่กรณีสงสัย ให้ศาลมีคำสั่ง ให้ส่งหมายเรียกใหม่ และกำหนดเงื่อนไข ตามสมควร
ป.วิ.แพ่ง มาตรา ๑๙๘ ทวิ ศาลจะให้โจทก์ชนะคดีได้ เมื่อฟ้องโจทก์มีมูล และไม่ขัดต่อกฎหมาย
ในคดีที่เกี่ยวด้วย สิทธิแห่งสภาพบุคคล สิทธิในครอบครัว หรือ คดีพิพาทเกี่ยวด้วยกรรมสิทธิ์ ในอสังฯ ให้สืบพยานหลักฐาน โจทก์ฝ่ายเดียว และ ศาลอาจเรียกพยานหลักฐานอื่น มาสืบได้เองเพื่อความยุติธรรม
ในการกำหนด จำนวนเงินตามคำขอบังคับ
(๑) กรณีที่ให้จำเลย ชำระหนี้เป็นเงินจำนวนแน่นอน ให้ศาลมีคำสั่งให้โจทก์ ส่งพยานเอกสารแทนการสืบพยาน
(๒) กรณีที่ให้จำเลย ชำระหนี้เป็นเงิน ไม่อาจกำหนดจำนวนได้แน่นอน ให้สืบพยานหลักฐานโจทก์ฝ่ายเดียวและ ศาลอาจเรียกพยานหลักฐานอื่น มาสืบได้เองตามที่จำเป็น
ถ้าจำเลยที่ขาดนัด ยื่นคำให้การ ไม่มาศาล ในวันสืบพยาน ไม่ถือว่าขาดนัดพิจารณา
ถ้าโจทก์ ไม่นำพยาน หลักฐานมาสืบ ภายในเวลาที่ศาลกำหนด ให้ถือว่าคดีไม่มีมูล และให้ศาลยกฟ้องโจทก์
ป.วิ.แพ่ง มาตรา ๑๙๘ ตรี คดี ที่มีจำเลยหลายคน ให้ศาลชี้ขาดคดี ที่ขาดนัดก่อน และพิจารณาคดี ที่ยื่นคำให้การต่อไป แต่ถ้ามูลความแห่งคดี เป็นการชำระหนี้ ซึ่งแบ่งแยกมิได้ ให้ศาล รอการชี้ขาดไว้ก่อน จนกว่าคดี ที่ยื่นคำให้การนั้น เสร็จสิ้น
จำเลยที่ขาดนัด ไม่มาศาล ในวันสืบพยาน ของคู่ความอื่น มิให้ถือว่า ขาดนัดพิจารณา
ป.วิ.แพ่ง มาตรา ๑๙๙ ถ้าจำเลยที่ขาดนัด ยื่นคำให้การ มาศาล ก่อนชี้ขาดคดี และแจ้งว่าประสงค์ จะสู้คดี ในโอกาสแรก เมื่อศาลเห็นว่า มิได้จงใจหรือมีเหตุอันควร ก็อนุญาตให้ยื่นคำให้การ และดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ ตั้งแต่เวลาที่ จำเลยขาดนัด ยื่นคำให้การ
กรณีตามวรรคหนึ่ง ถ้าจำเลยมิได้แจ้งต่อศาล หรือศาลเห็นว่าจงใจ ให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป จำเลยถามค้านพยานโจทก์ ที่อยู่ระหว่างการสืบได้ แต่นำสืบพยานหลักฐานของตนไม่ได้
กรณีตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง หรือศาลเคยสั่งพิจารณาคดีใหม่ ตามคำขอของจำเลย ที่ขาดนัด ตามมาตรา ๑๙๙ ตรี มาก่อน จำเลยจะร้องขอพิจารณาคดีใหม่ หรือขอยื่นคำให้การ ตามมาตรานี้ไม่ได้
ป.วิ.แพ่ง มาตรา ๒๐๑ ถ้าคู่ความทั้งสองฝ่าย ขาดนัดพิจารณา ให้ศาลสั่งจำหน่ายคดีนั้น
ป.วิ.แพ่ง มาตรา ๒๐๒ ถ้าโจทก์ขาดนัดพิจารณา ให้ศาลสั่งจำหน่ายคดี เว้นแต่จำเลย ขอดำเนินคดีต่อ ให้ศาลพิจารณา และชี้ขาดไปฝ่ายเดียว
ป.วิ.แพ่ง มาตรา ๒๐๓ ผลของคำสั่ง จำหน่ายคดี ตามมาตรา ๒๐๑ และมาตรา ๒๐๒
ห้ามโจทก์อุทธรณ์ แต่ฟ้องใหม่ได้ ในอายุความ
ป.วิ.แพ่ง มาตรา ๒๐๔ จำเลยขาดนัดพิจารณา ให้ศาลพิจารณา และชี้ขาดไปฝ่ายเดียว
ป.วิ.แพ่ง มาตรา ๒๐๕ ศาลมีคำสั่งเลื่อน วันสืบพยานไป และกำหนดวิธีการอย่างใด ตามสมควรได้ เพื่อให้ส่งหมาย กำหนดวัน นัดสืบพยานใหม่ แก่คู่ความฝ่าย ที่ขาดนัดพิจารณา ถ้าคู่ความฝ่ายนั้น ไม่มาศาล ก่อนวันเริ่มสืบพยาน ในวันที่กำหนด ให้ศาลพิจารณาและชี้ขาดไปฝ่ายเดียว ตามมาตรา ๒๐๒ มาตรา ๒๐๔
ป.วิ.แพ่ง มาตรา ๒๐๗ เมื่อฝ่ายขาดนัดแพ้คดี อาจมีคำขอ พิจารณาคดีใหม่ ให้นำ ม.๑๙๙ตรี,จัตวา,เบญจ มาใช้บังคับโดยอนุโลม