หน้าเว็บ

ตัวบทภาษี มาตราใช้สอบ


LW 406 กฏหมายภาษีอากร มาตราใช้สอบ

สรุปภาพรวม ก.ม. ปกครอง


LW 312 สรุปภาพรวม กม.ปกครอง

กฏหมายมรดก


LW 311 กฎหมายว่าด้วยมรดก

ตัวบทภาษีย่อๆ


LW406 กฏหมายภาษีอากร จากการติว

วันอังคารที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

มีตัวบทย่อ lw 306 มาฝาก.....

ตัวบทย่อ lw306 ที่รวบรวมมาจากคำบรรยายของอาจารย์

ป.วิ.แพ่ง มาตรา ๓ เพื่อประโยชน์ในการเสนอคำฟ้อง
(๑) มูลคดีเกิดใน (เรือ/อากาศยาน)ไทย ฟ้องต่อศาลแพ่ง
(๒) จำเลยไม่มีภูมิลำเนาในราชฯ
(ก) จำเลยเคยมีภูมิลำเนาในราชฯในกำหนด ๒ ปี
(ข) จำเลยประกอบหรือเคยประกอบกิจการในราชฯในกำหนด ๒ ปี
ป.วิ.แพ่ง มาตรา ๔ เขตอำนาจศาล กรณีทำเป็นคำฟ้องหรือคำร้องขอ (หลักทั่วไป) (หนี้เหนือบุคคล)
(๑) คำฟ้อง ให้เสนอต่อศาลที่จำเลย มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล หรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้น
(๒) คำร้องขอ ให้เสนอต่อศาล ที่มูลคดีเกิดขึ้น หรือต่อศาลที่ผู้ร้อง มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล
ป.วิ.แพ่ง มาตรา ๔ ทวิ คำฟ้องเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิหรือประโยชน์ อันเกี่ยวด้วย อสังฯ ให้เสนอต่อศาลที่อสังฯนั้นตั้งอยู่ ( ไม่ว่าจำเลยมีภูมิลำเนาในราชฯหรือไม่ )หรือต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล
ป.วิ.แพ่ง มาตรา ๔ ตรี คำฟ้องอื่นนอกจากมาตรา ๔ ทวิ จำเลยไม่มีมีภูมิลำเนาอยู่ในราชฯและ มูลคดีไม่เกิดในราชฯ ถ้าโจทก์มีสัญชาติไทย หรือ มีภูมิลำเนาอยู่ในราชฯให้เสนอต่อศาลแพ่ง หรือแจ้งต่อศาลโจทก์
คำฟ้องตามวรรคหนึ่ง ถ้าจำเลยมีทรัพย์ ที่อาจถูกบังคับคดีได้อยู่ในราชฯ เสนอคำฟ้องต่อศาล ที่ทรัพย์นั้นตั้งอยู่ ก็ได้
ป.วิ.แพ่ง มาตรา ๔ จัตวา คำร้องขอแต่งตั้ง ผู้จัดการมรดก ให้เสนอต่อศาล ที่เจ้ามรดกมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล ในขณะถึงแก่ความตาย
ถ้าเจ้ามรดก ไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชฯ ให้เสนอต่อศาล ที่ทรัพย์มรดกอยู่ในเขตศาล
ป.วิ.แพ่ง มาตรา ๕ คดีที่มีเขตอำนาจหลายศาล เพราะภูมิลำเนาของบุคคล ที่ตั้งของทรัพย์สิน สถานที่ที่เกิดมูลคดี หรือ มีข้อหาหลายข้อ ถ้ามูลความแห่งคดีเกี่ยวข้องกัน เสนอศาลใดก็ได้
ป.วิ.แพ่ง มาตรา ๗ มาตรา ๔ , ๔ ทวิ , ๔ ตรี , ๔ จัตวา , ๔ เบญจ , ๔ ฉ , มาตรา ๕ , มาตรา ๖ ต้องอยู่ภายใต้ มาตรา ๗
1. คำฟ้องหรือคำร้องขอ ที่เสนอภายหลัง คดีที่ค้างพิจารณาในศาลใด ให้ยื่นศาลนั้น
4. ให้ศาลถอน คำร้องที่เสนอ ให้ศาลถอนคืน ศาลใดแต่งตั้ง ก็ให้เสนอต่อศาลนั้น
ป.วิ.แพ่ง มาตรา ๕๕ อำนาจฟ้องมี ๒ เหตุ คือ ๑) ถูกโต้แย้งสิทธิ ๒) ต้องการใช้สิทธิทางศาล
ป.วิ.แพ่ง มาตรา ๕๖ การดำเนินคดี ของผู้ไร้ความสามารถ หรือ ผู้ทำการแทน ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยความสามารถ และตามบทบัญญัติ แห่งกฎหมายนี้ การให้อนุญาตหรือยินยอม ให้ทำเป็นหนังสือต่อศาล เพื่อรวมไว้ในสำนวน
ก่อนมีคำพิพากษา เมื่อศาลเห็นหรือคู่ความขอ ศาลมีคำสั่ง ให้แก้ไขข้อบกพร่องนั้นได้
เพื่อความยุติธรรม ศาลจะสั่งให้ฝ่ายบกพร่อง ดำเนินคดีไปก่อนชั่วคราว แต่ห้ามพิพากษาจนกว่าข้อบกพร่องนั้นจะได้แก้ไขแล้ว
การตั้งผู้แทนเฉพาะคดี ถ้าไม่มีบุคคลใด ศาลตั้งอัยการ หรือพนักงาน ฝ่ายปกครองอื่น เป็นผู้แทนก็ได้
ป.วิ.แพ่ง มาตรา ๕๗ บุคคลภายนอก ซึ่งมิใช่คู่ความ อาจเข้ามาเป็นคู่ความ ได้ด้วยการร้องสอด
(๑) ด้วยความสมัครใจ เพื่อยังให้ได้ความรับรอง คุ้มครอง หรือ บังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ โดยยื่นต่อศาล ที่ออกหมายบังคับคดี
(๒) ด้วยความสมัครใจ เพราะตนมีส่วนได้เสียตามกฎหมาย ในผลแห่งคดี
(๓) ถูกหมายเรียกเข้ามา (ก.) ตามคำขอของคู่ความ หรือ (ข.) โดยคำสั่งศาล
ป.วิ.แพ่ง มาตรา ๕๘ ผู้ร้องสอดเข้ามา ตามมาตรา ๕๗(๑),(๓) มีสิทธิเสมือนได้ฟ้อง หรือถูกฟ้อง เป็นคดีเรื่องใหม่
ผู้ร้องสอดเข้ามา ตามมาตรา ๕๗(๒) ห้ามใช้สิทธิอย่างอื่น หรือขัดต่อสิทธิ ของคู่ความเดิม
ผู้ร้องสอด ย่อมต้องผูกพัน ตามคำพิพากษา เว้นแต่
1. เพราะความประมาท ของคู่ความ ทำให้ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดี ช้า เกินควร ที่จะแสดงข้อเถียง อันเป็นสาระสำคัญได้
2. คู่ความจงใจ หรือประมาทร้ายแรง ไม่ยกปัญหาข้อกฎหมาย หรือข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ ที่ผู้ร้องสอด มิได้รู้ว่ามีอยู่เช่นนั้น
ป.วิ.แพ่ง มาตรา ๕๙ บุคคลอาจเป็นคู่ความร่วมกันในคดี ถ้ามีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี
แต่มิให้ถือว่าแทนที่กัน เว้นแต่มูลความแห่งคดี เป็นการชำระหนี้ ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ หรือ
มีกฎหมาย บัญญัติให้แทนที่กันได้ ดังจะกล่าวต่อไปนี้
1. กระบวนพิจารณา ที่ได้ทำโดยคู่ความร่วมคนหนึ่ง เว้นแต่กระบวนพิจารณา ที่เสื่อมเสียแก่คู่ความร่วมคนอื่น
2. การเลื่อนหรือการงดพิจารณาคดี ที่เกี่ยวกับคู่ความร่วมคนหนึ่ง ให้ใช้ถึง คู่ความร่วมคนอื่นๆ
ป.วิ.แพ่ง มาตรา ๑๔๔ เมื่อศาลมีคำพิพากษา หรือ คำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดี หรือในประเด็นข้อใด แห่งคดีแล้ว (คดีจะถึงที่สุดหรือไม่ก็ได้) ห้าม (โจทก์ /จำเลย / ศาล ) ดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ในเรื่องเดียวกัน เว้นแต่ ......
ป.วิ.แพ่ง มาตรา ๑๔๘ คดีถึงที่สุดแล้ว ห้ามคู่ความเดียวกัน รื้อร้องฟ้องกันอีก ในประเด็นที่ได้วินิจฉัย โดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน(ฟ้องซ้ำ) เว้นแต่
(๑) ชั้นบังคับคดี ตามคำพิพากษา หรือ ตามคำสั่งศาล
(๒) วิธีการชั่วคราว
(๓) ไม่ตัดสิทธิโจทก์ ฟ้องใหม่ในอายุความ
ป.วิ.แพ่ง มาตรา ๑๗๓ เมื่อศาล ได้รับคำฟ้องแล้ว ให้ศาลออกหมาย ส่งสำเนาคำฟ้อง ให้แก่จำเลยเพื่อแก้คดี ภายในกำหนด ๗ วัน นับแต่วันยื่นฟ้อง โจทก์ร้อง ขอพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อส่งหมายนั้น
คดีอยู่ระหว่างพิจารณา
(๑) ห้ามมิให้โจทก์ ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกัน ต่อศาลเดียวกันหรือศาลอื่น ( ฟ้องซ้อน )
ป.วิ.แพ่ง มาตรา ๑๗๔ กรณีต่อไปนี้ ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง
(๑) ภายหลัง ที่ได้เสนอคำฟ้องแล้ว โจทก์ไม่ร้องขอ ต่อเจ้าพนักงาน เพื่อให้ส่งหมายเรียก เพื่อแก้คดีแก่จำเลย และไม่แจ้งเหตุเพิกเฉย ในกำหนด ๗ วัน
(๒) โจทก์เพิกเฉย ไม่ดำเนินคดี ภายในเวลา ที่ศาลกำหนด
ป.วิ.แพ่ง มาตรา ๑๗๖ การทิ้งคำฟ้องหรือ ถอนคำฟ้อง ย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้อง รวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่นๆ และทำให้คู่ความ กลับคืนสู่ฐานะเดิม เสมือนมิได้ฟ้อง แต่ยื่นฟ้องใหม่ได้ในอายุความ
ป.วิ.แพ่ง มาตรา ๑๗๗ เมื่อส่งหมายเรียก และ คำฟ้องให้จำเลยแล้ว ให้จำเลยทำคำให้การ เป็นหนังสือ ยื่นต่อศาล ภายใน ๑๕ วัน
คำให้การ ต้องแสดงชัดแจ้งว่า ยอมรับหรือปฏิเสธ ทั้งหมดหรือบางส่วน รวมทั้งเหตุแห่งการนั้น
จำเลยฟ้องแย้งมา ในคำให้การได้ แต่ต้องเกี่ยวกับฟ้องเดิม ถ้าฟ้องแย้งไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม ศาลสั่งจำเลย ฟ้องเป็นคดีต่างหาก
ให้ศาลตรวจคำให้การ แล้วสั่งรับไว้ หรือไม่รับ หรือ คืนไป ตามที่บัญญัติใน มาตรา ๑๘
มาตรานี้ ให้ใช้บังคับแก่ผู้ร้องสอด ตามมาตรา 57 (3) โดยอนุโลม
ป.วิ.แพ่ง มาตรา ๑๗๙ โจทก์จำเลยจะแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องหรือคำให้การที่เสนอต่อศาล แต่แรกก็ได้
โดยการแก้ไข ในข้อต่อไปนี้
1. เพิ่มหรือลด จำนวนทุนทรัพย์ หรือราคาทรัพย์สินที่พิพาท
2. สละข้อหาบางข้อ เสนอคำฟ้องเพิ่มเติม เสนอคำฟ้องคุ้มครอง สิทธิของตนระหว่างพิจารณา หรือ เพื่อบังคับตามคำพิพากษา หรือ คำสั่ง
3. ฟ้องแย้ง ต้องเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม พอที่จะรวมพิจารณา และชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้
ป.วิ.แพ่ง มาตรา ๑๘๐ การแก้ไขคำฟ้อง หรือคำให้การ ให้ทำเป็นคำร้อง ยื่นต่อศาล ก่อนวันชี้ สองสถาน หรือก่อนวันสืบพยาน ไม่น้อยกว่า ๗ วัน แล้วแต่กรณี เว้นแต่ มีเหตุอันควร หรือ เกี่ยวกับความสงบฯ หรือ แก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อย
ป.วิ.แพ่ง มาตรา ๑๙๗ จำเลยได้รับหมายเรียกแล้ว ไม่ยื่นคำให้การภายในกำหนด ถือว่าขาดนัดยื่นคำให้การ
ป.วิ.แพ่ง มาตรา ๑๙๘ จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ให้โจทก์มีคำขอต่อศาล ภายใน ๑๕ วัน นับแต่ระยะเวลาที่กำหนด ให้จำเลยยื่นคำให้การสิ้นสุดลง ให้ศาลพิพากษาให้ตน เป็นฝ่ายชนะคดีโดยขาดนัด
ถ้าโจทก์ไม่ยื่นคำขอ ตามกำหนดดังกล่าว ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดี
ถ้าโจทก์ยื่นคำขอ ตามกำหนดดังกล่าว ให้ศาลสั่งตาม ม.๑๙๘ ทวิ เว้นแต่กรณีสงสัย ให้ศาลมีคำสั่ง ให้ส่งหมายเรียกใหม่ และกำหนดเงื่อนไข ตามสมควร
ป.วิ.แพ่ง มาตรา ๑๙๘ ทวิ ศาลจะให้โจทก์ชนะคดีได้ เมื่อฟ้องโจทก์มีมูล และไม่ขัดต่อกฎหมาย
ในคดีที่เกี่ยวด้วย สิทธิแห่งสภาพบุคคล สิทธิในครอบครัว หรือ คดีพิพาทเกี่ยวด้วยกรรมสิทธิ์ ในอสังฯ ให้สืบพยานหลักฐาน โจทก์ฝ่ายเดียว และ ศาลอาจเรียกพยานหลักฐานอื่น มาสืบได้เองเพื่อความยุติธรรม
ในการกำหนด จำนวนเงินตามคำขอบังคับ
(๑) กรณีที่ให้จำเลย ชำระหนี้เป็นเงินจำนวนแน่นอน ให้ศาลมีคำสั่งให้โจทก์ ส่งพยานเอกสารแทนการสืบพยาน
(๒) กรณีที่ให้จำเลย ชำระหนี้เป็นเงิน ไม่อาจกำหนดจำนวนได้แน่นอน ให้สืบพยานหลักฐานโจทก์ฝ่ายเดียวและ ศาลอาจเรียกพยานหลักฐานอื่น มาสืบได้เองตามที่จำเป็น
ถ้าจำเลยที่ขาดนัด ยื่นคำให้การ ไม่มาศาล ในวันสืบพยาน ไม่ถือว่าขาดนัดพิจารณา
ถ้าโจทก์ ไม่นำพยาน หลักฐานมาสืบ ภายในเวลาที่ศาลกำหนด ให้ถือว่าคดีไม่มีมูล และให้ศาลยกฟ้องโจทก์
ป.วิ.แพ่ง มาตรา ๑๙๘ ตรี คดี ที่มีจำเลยหลายคน ให้ศาลชี้ขาดคดี ที่ขาดนัดก่อน และพิจารณาคดี ที่ยื่นคำให้การต่อไป แต่ถ้ามูลความแห่งคดี เป็นการชำระหนี้ ซึ่งแบ่งแยกมิได้ ให้ศาล รอการชี้ขาดไว้ก่อน จนกว่าคดี ที่ยื่นคำให้การนั้น เสร็จสิ้น
จำเลยที่ขาดนัด ไม่มาศาล ในวันสืบพยาน ของคู่ความอื่น มิให้ถือว่า ขาดนัดพิจารณา
ป.วิ.แพ่ง มาตรา ๑๙๙ ถ้าจำเลยที่ขาดนัด ยื่นคำให้การ มาศาล ก่อนชี้ขาดคดี และแจ้งว่าประสงค์ จะสู้คดี ในโอกาสแรก เมื่อศาลเห็นว่า มิได้จงใจหรือมีเหตุอันควร ก็อนุญาตให้ยื่นคำให้การ และดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ ตั้งแต่เวลาที่ จำเลยขาดนัด ยื่นคำให้การ
กรณีตามวรรคหนึ่ง ถ้าจำเลยมิได้แจ้งต่อศาล หรือศาลเห็นว่าจงใจ ให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป จำเลยถามค้านพยานโจทก์ ที่อยู่ระหว่างการสืบได้ แต่นำสืบพยานหลักฐานของตนไม่ได้
กรณีตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง หรือศาลเคยสั่งพิจารณาคดีใหม่ ตามคำขอของจำเลย ที่ขาดนัด ตามมาตรา ๑๙๙ ตรี มาก่อน จำเลยจะร้องขอพิจารณาคดีใหม่ หรือขอยื่นคำให้การ ตามมาตรานี้ไม่ได้
ป.วิ.แพ่ง มาตรา ๒๐๑ ถ้าคู่ความทั้งสองฝ่าย ขาดนัดพิจารณา ให้ศาลสั่งจำหน่ายคดีนั้น
ป.วิ.แพ่ง มาตรา ๒๐๒ ถ้าโจทก์ขาดนัดพิจารณา ให้ศาลสั่งจำหน่ายคดี เว้นแต่จำเลย ขอดำเนินคดีต่อ ให้ศาลพิจารณา และชี้ขาดไปฝ่ายเดียว
ป.วิ.แพ่ง มาตรา ๒๐๓ ผลของคำสั่ง จำหน่ายคดี ตามมาตรา ๒๐๑ และมาตรา ๒๐๒
ห้ามโจทก์อุทธรณ์ แต่ฟ้องใหม่ได้ ในอายุความ
ป.วิ.แพ่ง มาตรา ๒๐๔ จำเลยขาดนัดพิจารณา ให้ศาลพิจารณา และชี้ขาดไปฝ่ายเดียว
ป.วิ.แพ่ง มาตรา ๒๐๕ ศาลมีคำสั่งเลื่อน วันสืบพยานไป และกำหนดวิธีการอย่างใด ตามสมควรได้ เพื่อให้ส่งหมาย กำหนดวัน นัดสืบพยานใหม่ แก่คู่ความฝ่าย ที่ขาดนัดพิจารณา ถ้าคู่ความฝ่ายนั้น ไม่มาศาล ก่อนวันเริ่มสืบพยาน ในวันที่กำหนด ให้ศาลพิจารณาและชี้ขาดไปฝ่ายเดียว ตามมาตรา ๒๐๒ มาตรา ๒๐๔
ป.วิ.แพ่ง มาตรา ๒๐๗ เมื่อฝ่ายขาดนัดแพ้คดี อาจมีคำขอ พิจารณาคดีใหม่ ให้นำ ม.๑๙๙ตรี,จัตวา,เบญจ มาใช้บังคับโดยอนุโลม