หน้าเว็บ

ตัวบทภาษี มาตราใช้สอบ


LW 406 กฏหมายภาษีอากร มาตราใช้สอบ

สรุปภาพรวม ก.ม. ปกครอง


LW 312 สรุปภาพรวม กม.ปกครอง

กฏหมายมรดก


LW 311 กฎหมายว่าด้วยมรดก

ตัวบทภาษีย่อๆ


LW406 กฏหมายภาษีอากร จากการติว

วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เรื่องผู้เยาว์ทำนิติกรรมได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอม

จากเว็บ http://www.fpmconsultant.com/htm/advocate_dtl.php?id=159 เครดิตคุณ ชินโรจน์ ศรัณย์สมบัติ (ทนายความ)


ในเรื่องความสามารถในการใช้สิทธิทำนิติกรรมต่างๆ นั้น กฎหมายได้บัญญัติข้อจำกัดในเรื่องนี้ไว้ในหลักทั่วไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 153 ที่ว่า “การใดมิได้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยความสามารถของบุคคล การนั้นเป็นโมฆียะ”
จากหลักกฎหมายดังกล่าวจะพูดง่ายๆ ก็คือว่า ผู้ที่จะทำนิติกรรมใดๆ ได้นั้นจะต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถเท่านั้นจึงจะทำนิติกรรมได้ ถ้าขาดความสามารถแล้วไปทำนิติกรรมใดๆ ไว้ นิติกรรมนั้นก็จะเป็นโมฆียะ
“โมฆียะกรรมคืออะไร”
“การทำนิติกรรมที่เป็นโมฆียะคือ นิติกรรมนั้นสมบูรณ์เมื่อทำขึ้นมาแล้วใช้บังคับกันได้ตามกฎหมาย แต่มีเหตุบกพร่องบางประการในการแสดงเจตนาของบุคคลผู้แสดงเจตนาในการทำนิติกรรม แต่ความบกพร่องที่ผมว่านี้ไม่ได้ทำให้นิติกรรมที่ทำขึ้นมานั้นต้องเสียเปล่าไป คือไม่เป็นโมฆะ แต่ยังคงใช้บังคับกันได้สมบูรณ์ตามกฎหมายและสมบูรณ์ไปจนกว่านิติกรรมนั้นจะถูกบอกล้าง ซึ่งถ้าไม่มีการบอกล้างนิติกรรมนั้นก็จะสมบูรณ์ตลอดไป”
ตัวอย่างกรณีนี้ กรณีที่ผู้เยาว์อายุยังไม่ถึง 20 ปีบริบูรณ์ ไปทำนิติกรรมคือ ทำสัญญาจะซื้อจะขายรถจักรยานยนต์ โดยมิได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม คือบิดาและมารดาของผู้เยาว์ไม่ได้ยินยอมด้วย กรณีนี้สัญญาจะซื้อจะขายรถจักรยานยนต์ถือว่าเป็นสัญญาที่เป็นโมฆียะ เพราะเรื่องความสามารถของบุคคลผู้เป็นผู้เยาว์ที่จะทำนิติกรรมจะต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน แต่ถึงอย่างไรสัญญาจะซื้อจะขายรถจักรยานยนต์นี้ก็สมบูรณ์บังคับได้ตามกฎหมายไม่เป็นโมฆะ สมบูรณ์ไปตลอดจนกว่าผู้แทนโดยชอบธรรมจะมาบอกล้าง สัญญาจะซื้อจะขายก็จะกลายเป็นโมฆะ
เรื่องความสามารถของบุคคลผู้เยาว์ เป็นบุคคลที่กฎหมายคุ้มครองในการใช้สิทธิทำนิติกรรมต่างๆ โดยหลักแล้วสามารถทำนิติกรรมได้ คือต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน ถ้าการทำนิติกรรมใดๆ โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม การทำนิติกรรมนั้นเป็นโมฆียะ
ความสามารถในการทำนิติกรรมบางอย่างของผู้เยาว์ ทำได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมมีได้ 3 กรณีคือ
(1) นิติกรรมที่ทำขึ้นแล้วทำให้ผู้เยาว์ได้ไปซึ่งสิทธิอันใดอันหนึ่ง หรือเป็นการเพื่อให้หลุดพ้นจากหน้าที่อันใดอันหนึ่ง ตาม ป.พ.พ.มาตรา 22 เช่น มีคนยกทรัพย์สินให้ผู้เยาว์โดยเสน่หา ไม่มีเงื่อนไขใดๆ
เลย ผู้เยาว์สามารถจะรับทรัพย์สินนั้นไว้ได้ โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม เพราะผู้เยาว์ไม่ต้องเสียอะไรเลยได้แต่ประโยชน์อย่างเดียว
(2) นิติกรรมที่เป็นการต้องทำเองเฉพาะตัว ตาม ป.พ.พ.มาตรา 23 เช่น การจดทะเบียนรับรองเด็กเป็นบุตร ที่ผู้เยาว์มีอายุ 15 ปีบริบูรณ์ ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้กับบุคคลอื่น
(3) นิติกรรมที่ทำขึ้นสมฐานานุรูปและเป็นนิติกรรมที่จำเป็น เพื่อการเลี้ยงชีพตามสมควร ตาม
ป.พ.พ.มาตรา 24 เช่น การซื้ออาหาร เครื่องนุ่งห่ม เครื่องมือ เครื่องใช้ในการดำรงชีพ อันเป็นเรื่องที่จำเป็นที่ผู้เยาว์จะต้องทำ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น